กินมื้อดึกทำให้ฝันร้าย

การรับประทานอาหารหนัก ๆ โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมัน อาหารที่มีรสจัด รวมถึงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมาก เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรานอนไม่หลับ เลยเถิดไปจนถึงเกิดฝันร้ายอยู่บ่อยๆ เนื่องจากการรับประทานอาหารเหล่านี้ จะกระตุ้นให้ระบบเผาผลาญและกระบวนการเมทาบอลิซึมในร่างกายต้องทำงานหนักล่วงเวลา แถมยังส่งผลให้สมองต้องปลุกตัวเองมาสั่งการให้ร่างกายเผาผลาญอาหารที่กินเข้าไปอย่างต่อเนื่องจนจบสิ้นกระบวนการ ดังนั้นเมื่อทั้งสองส่วนสำคัญของร่างกายยังคงทำงานอยู่อย่างนี้ ตัวเราเองก็เลยนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย รู้สึกร้อน จนนอนฝันร้ายขึ้นมาได้ง่าย ๆ
          ทั้งนี้จากผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์
The Mind and Body ยังชี้ให้เห็นว่า การรับประทานอาหารขยะที่อุดมไปด้วยน้ำตาล เช่น ไอศกรีม ลูกอม ลูกกวาด จะยิ่งกระตุ้นให้เกิดคลื่นสมองขณะนอนหลับ และอาจส่งผลให้กลุ่มทดลอง 7 ใน 10 คนฝันร้ายตอนนอนด้วย ซึ่งนอกจากนี้ ผลการวิจัยยังเตือนมาด้วยว่า หากเข้านอนในขณะที่อิ่มจัดก็อาจกระตุ้นให้คลื่นสมองทำงานและก่อฝันร้ายได้เช่นกัน

          ดังนั้นหากไม่อยากนอนไม่หลับและฝันร้าย ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนักก่อนเข้านอน รวมทั้งทำตามคำแนะนำจาก รศ. นพ.ปารยะ อาศนะเสน ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ดังนี้
          1. หลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีน (ชา
, กาแฟ, ชาเขียว, เครื่องดื่มชูกำลัง, น้ำอัดลม, โกโก้, ช็อกโกแลต และยาบางชนิด) ภายใน 4-6 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เนื่องจากคาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของสมอง ทำให้นอนไม่หลับจนฝันเป็นตุเป็นตะ
          2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายใน 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน เนื่องจากภายหลังที่แอลกอฮอล์หมดฤทธิ์จะทำให้นอนหลับไม่สนิท ตื่นได้ง่าย และอาจฝันร้าย
          3. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเครียดในช่วงเวลาใกล้เข้านอน เช่น การเล่นเกมที่ต้องแข่งขันกัน การดูหนังหรือรายการที่ทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น หลอน หรือคิดถึงเรื่องที่น่ากังวลต่าง ๆ เพราะสมองอาจเก็บข้อมูลเหล่านี้ไปฝันร้ายได้
          แม้ความฝันจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนและดูเหมือนเราจะควบคุมมันไม่ได้ ทว่าหากเราทำตามคำแนะนำและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็น่าจะช่วยนอนหลับสบายไร้ความฝันได้

          เมตาบอลิซึม (Metabolism) เป็นกระบวนการทางเคมีที่ร่างกายเปลี่ยนสารอาหารและน้ำให้กลายเป็นพลังงานเพื่อให้เซลล์ของอวัยวะในแต่ละระบบร่างกาย สามารถทำงานตามหน้าที่ได้อย่างปกติ จะถูกเผาผลาญผ่าน 3 ช่องทางหลัก ประกอบด้วย อัตราความต้องการเผาผลาญของร่างกาย (Basal Metabolic Rate: BMR) พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนไหวร่างกาย (Physical Activity) และ พลังงานที่ใช้ย่อยอาหาร (Thermic Effect of Food)

วันที่: 
Mon 2 September 2019
แหล่งที่มา: 
https://health.kapook.com/view126612.html
Hits 1,536 ครั้ง