นักวิทยาศาสตร์ ไมเคิล ฟาราเดย์

ไมเคิล ฟาราเดย์ เกิดที่ เซอร์เรย์ ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน เป็นบุตรคนที่ 3 จากจำนวน 10 บิดาของเขาชื่อเจมส์เป็นช่างตีเหล็ก เขาเริ่มทำงานเมื่ออายุ 13 ปี โดยการเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์และฝึกงาน แผนกเย็บปกและซ่อมหนังสือ เขายังเป็นคนชอบอ่านหนังสือ ศึกษาหาความรู้โดยเฉพาะเรื่องของไฟฟ้า เขาพยายามหาโอกาสไปฟังการบรรยายทางวิทยาศาสตร์ตามสถานที่ต่าง ๆ เสมอ และจะมีการจดบันทึกไว้อย่างละเอียดและเข้าเล่มเก็บไว้ มีครั้งหนึ่งในปี 1812 มีลูกค้าซ่อมหนังสือเห็นว่าเขาสนใจเรื่องการบรรยายของนักวิทยาศาสตร์ จึงได้มอบบัตรในการฟังการบรรยายวิทยาศาสตร์ของน้องเกย์มีรยายที่ราชสมาคม เขาจดรายละเอียดการบรรยาย วาดรูปประกอบ เรียบเรียงอย่างเป็นระเบียบ จากนั้นเขาจึงไปสมัครเป็นผู้ช่วยเดวี่ โดยนำหนังสือเล่มนี้ไปด้วย ทำให้เดวี่ประทับใจ รับเขาทำงาน
เขาทำงานทุกอย่างในการเป็นผู้ช่วยเดวี่ ตั้งแต่ภารโรง เลขา ด้วยเงินที่ได้รับสัปดาห์ละ 25 ชิลลิง ซึ่งน้อยกว่าทำงานที่ร้านหนังสือ แต่เขาพอใจกับงานและคอยสังเกตการทดลองของเดวี่ อย่างสนใจ เขามีโอกาสได้ตามเดวี่ไปสถานที่ต่าง ๆ ในยุโรป ทำให้เขาได้รู้จักกับคนสำคัญและนักวิทยาศาสตร์ เช่น อองแปร์ วอลตา หลังจากติดตามเดวี่มา 2 ปี ก็เดินทางกลับอังกฤษและได้เงินเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 30 ชิลลิง นอกจากนี้เขายังเขียนบทความและรายงานทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เขามีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และริเริ่มจัดตั้ง City Plilosophical Society ซึ่งเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนพบปะคุยกันของบรรดาผู้ที่สนใจวิทยาศาสตร์ เขาเริ่มสนใจวิชาเคมีในช่วงนี้ ต่อมาปลายปี 1820 เขาแต่งงานกับ ซาราห์ เบอร์นาด ลูกสาวช่างเงิน
เขาเริ่มสนใจเกี่ยวกับเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้า เขาทดลองเรื่อง อำนาจแม่เหล็กให้เป็นพลังงานไฟฟ้าอยู่หลายครั้ง จนการทดลองหนึ่ง เขาพันขดลวด 2 ขดในวงแหวนอันเดียวกัน โดยต่อปลายทั้งสองของขดลวดหนึ่งเข้ากับ กัลวานอมิเตอร์ และต่อขดลวดที่เหลือกับแหล่งจ่ายไฟและปิดเปิดสวิตซ์ให้กระแสไฟฟ้าผ่านเข้าในขดลวด เขาสังเกตเห็นว่า กัลวานอมิเตอร์ ที่ต่อกับอีกขดหนึ่งนั้นขยับ แสดงว่ามีกระแสไฟฟ้าไหลในขดที่ 2 ทั้งที่ไม่ได้จ่ายไฟเข้าขดนั้นเลย จากการทดลองนี้เขาพัฒนาเป็นหม้อแปลงไฟฟ้าในเวลาต่อมา เขายังค้นพบเส้นแรงแม่เหล็กจากการ ทดลองเทผงตะไบเหล็ก ลงบนกระดาษที่อยู่บนแม่เหล็ก
ฟาราเดย์ได้ทดลองใช้ลวดขดเป็นวงหลายรอบแบบที่เราเรียกว่าคอยด์ โดยต่อปลายทั้งสองของขดลวดเข้ากับ กัลวานอมิเตอร์ และทดลองสอดแท่งแม่เหล็กเข้าไปในระหว่างขดลวด พบว่า กัลวานอมิเตอร์กระดิกไปข้างหนึ่ง และพอแม่เหล็กหยุดนิ่ง เข็มก็เบนกลับที่เดิม พอเขาดึงแท่งแม่เหล็กออก เข็มก็เบนไปอีกทางหนึ่ง ตรงข้ามกับตอนแรก แล้วหยุดนิ่ง เขาพบว่า ไฟฟ้าเกิดจากการที่เส้นแรงแม่เหล็กตัดกับขดลวด เขาจึงเรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (Induced current) ซึ่งเขาพบว่ากระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำจะเกิดก็ต่อเมื่อมีการเคลื่อนที่ตัดกันของสนามแม่เหล็กกับขดลวดเท่านั้น ถ้าหยุดเคลื่อนที่กระแสไฟฟ้าก็หายไป เขาจึงมีแนวคิดที่จะให้กระแสไฟฟ้าไหลอยู่ตลอดเวลา จึงหมุนขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็กตลอดเวลา เกิดสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าไดนาโมในเวลาต่อมา ที่ถือว่าเป็นเครื่องแรกของโลกที่ไม่ต้องใช้ปฏิกิริยาทางเคมีเหมือนเดิม *การที่ไดนาโมจะผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้มากแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ.-
ความเร็วของขดลวดตัวนำ และแท่งแม่เหล็ก ถ้าเคลื่อนที่ตัดกันเร็วก็จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าการเคลื่อนที่ช้า
จำนวนขดลวดในโซเลนอยด์ ถ้าจำนวนมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้สูงมากเท่านั้น
ฟาราเดย์เผยแพร่ผลงานชิ้นนี้ออกไปในปี ค.ศ. 1822 ในหนังสือที่มีชื่อว่า Experimental Researches in Elctriityต่อมาในปี
ในปี 1823 เขาค้นพบวิธีการทำเหล็กกล้ามีความแข็งแรงทนทานมากกว่าเดิมและไม่เป็นสนิม โดยใช้เหล็ก + นิเกล เรียกว่า เหล็กสเตนเลส (Stainless Steel) ต่อมาในปี 1825 เขาพบ สารประกอบเบนซีน พบการทำให้คลอรีนเป็นของเหลว เขาเป็นคนบัญญัติศัพท์เกี่ยวกับการแยกสารละลายด้วยไฟฟ้าหลาย ๆ คำ
เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ประจำวิชาเคมีแห่งราชสมาคม ในปี ค.ศ. 1833 ในช่วงหลังเขาสนใจในเรื่องแสง และศึกษาค้นคว้าตลอดมา เขาล้มป่วยเป็นโรคความจำเสื่อมในบั้นปลาย ของชีวิต และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ.1867 ที่แฮมป์ตันคอร์ท อายุได้ 75 ปี
 

วันที่: 
Mon 17 June 2019
QR Code for https://www.stkc.go.th/info/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A5-%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%8C
แหล่งที่มา: 
://th.wikipedia.org/wiki/ไมเคิล_ฟาราเดย์