ระบบสุริยะ Solar System

ระบบสุริยะคืออะไร? เคยเรียนในห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์กันมาแล้ว เรามาทำความเข้าใจกันอีกสักครั้งกันเถอะครับ
 
ระบบสุริยะ คือ ระบบที่ยึดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีวัตถุอื่นๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีบริวารดังนี้
 
1. ดาวพุธ (Mercury) - เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
 
2. ดาวศุกร์ (Venus) - เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุด เป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2
 
3. โลก (Earth) - เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3
 
4. ดาวอังคาร (Mars) - ดาวเคราะห์ลำดับที่ 4 เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดเป็นลำดับที่ / ของระบบสุริยะ
 
5. ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) - ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ป็นลำดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
 
6. ดาวเสาร์ (Saturn) - ดาวเคราะห์ที่อยู่ถัดจากดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ และเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีวงแหวนอีกด้วย
 
7. ดาวยูเรนัส (Uranus) - เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 เป็นดาวเคราะห์แก๊ส เต็มไปด้วยแอมโมเนียและมีเทน
 
8. ดาวเนปจูน (Neptune) - เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ลักษณะมีผิวสีน้ำเงิน ปัจจุบันถูกจัดว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ
 
9. ดาวพลูโต (Pluto) - เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ อดีตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะ แต่เมื่อปี 1992 มีการค้นพบวัตถุที่ขนาดใกล้เคียงกับดาวพลูโตจำนวนมากในแถบไคเปอร์ เลยเกิดคำถามว่าดาวพลูโตยังควรมีสถานะเป็นดาวเคราะห์อยู่หรือไม่ จนในปี 2005 ก็เจอดาวเคราะห์แคระอีริสที่ขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโต อยู่ไกลออกไปจากพลูโต ซึ่งมีการพิจารณาว่าจะถูกจัดเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 10 แต่เมื่อปี 2006 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลตัดสินใจมาประชุมกำหนดนิยามของดาวเคราะห์กันเป็นครั้งแรก หลังสรุปนิยามได้แล้ว พลูโตกับอีริสก็ไม่เข้าข่ายจะเป็นดาวเคราะห์ แต่ได้หมวดหมู่ใหม่ของตัวเองเป็นดาวเคราะห์แคระ จุดแบ่งแยกคือดาวเคราะห์แคระไม่สามารถควบคุมแรงโน้มถ่วงหรือวงโคจรของวัตถุอื่น ๆ รอบตัวมันได้ แต่ดาวเคราะห์ทำได้
 
และนี่ก็คือโครงสร้างของระบบสุริยะที่เราอาศัยอยู่กันนั่นเองครับ แต่ใครจะรู้ว่าในอวกาศอันกว้างใหญ่จะมีอะไรที่มนุษย์เรายังไม่ค้นพบ อาจจะมีอะไรน่าตื่นเต้นรออยู่ก็ได้ หากมีการค้นพบอะไรใหม่ๆ ทีมงาน STKC จะรีบนำมาเล่าให้ฟังแน่นอนครับ
 
#STKC
 
 
 

วันที่: 
Mon 18 March 2019
QR Code for https://www.stkc.go.th/info/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B0-solar-system
แหล่งที่มา: 
http://adomoly.com/ระบบสุริยะ
Hits 15,846 ครั้ง