แอลกอฮอล์ที่กินได้

แอลกอฮอล์ที่ผสมในเครื่องดื่มกับที่ใช้ล้างแผลเหมือนกันไหม? กินได้เหมือนกันหรือเปล่า วันนี้เรามารู้จักแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกันครับ
 
เอทานอล (Etanol) เป็นแอลกอฮอล์ที่กินได้ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักน้ำตาลเช่น เบียร์ บรั่นดี สุราที่ใช้พืชตระกูลข้าวโพด มอลต์ ข้าวบาร์เลย์ หมักควบคู่กับยีสต์ เอนไซม์จากยีสต์ที่ผสมลงไปจะคอยทำหน้าที่เปลี่ยนให้คาร์โบไฮเดรตในพืชชนิดดังกล่าวเป็นน้ำตาลกลูโคส และเปลี่ยนจากน้ำตาลกลูโคสเป็นเอทานอลในที่สุด เราสามารถกินเอทานอลได้ตามปริมาณความเข้มข้นที่กำหนด เช่น เบียร์มีปริมาณแอลกอฮอล์ผสมอยู่ 3.5% ต่อกระป๋อง

เมทานอล (Methanol) เป็นแอลกอฮอล์ที่ไม่สามารถกินได้ เนื่องจากมีความเข้มข้นสูงเกินไป เช่น แอลกอฮล์สำหรับล้างแผลที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ผสมอยู่สูงถึง 70%
 
ถึงแม้ว่า เอทานอล และ เมทานอล ชื่อจะใกล้เคียงกัน ให้จำง่ายๆ ว่า เอ (ทานอล) - อีท กินได้ ไม่อันตราย ส่วน เม (ทานอล) - ม้วยมรณา ถึงชีวิตแน่นอนถ้ากินเข้าไป ดังนั้นเวลาเราไปซื้อเครื่องดื่มหรือวัสดุเคมีต่างๆ จะได้เข้าใจถึงความแตกต่างได้นั่นเองครับ
 
#STKC
 
 
 

วันที่: 
Sat 20 April 2019
QR Code for https://www.stkc.go.th/info/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
แหล่งที่มา: 
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/67734/-blo-sciche-sci-
Hits 973 ครั้ง