7 สัตว์มหัศจรรย์ ใต้ท้องทะเลอันดามัน ตอน ปลาปักเป้ายักษ์ stellate puffer

ปลาปักเป้ายักษ์ หรือ ปลาปักเป้าลายเสือ หรือ ปลาปักเป้าก้นดำ[3] (อังกฤษ: Starry blowfish, Starry toadfish, Star puffer; ชื่อวิทยาศาสตร์: Arothron stellatus) เป็นปลาปักเป้าชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีรูปร่างยาว หัวโต ลำตัวค่อนข้างกลม ส่วนท้ายแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวสีขาว มีลายเลอะสีเทาและจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายทั่วตัว มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 120 เซนติเมตร นับเป็นปลาปักเป้าชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย เป็นปลาที่หากินในระดับใกล้กับหน้าดิน อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง กินสัตว์น้ำเล็ก ๆ ตามหน้าดินเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน แต่เป็นปลาที่ไม่พบบ่อยมากนัก
ปลาปักเป้า มีทั้งปลาปักเป้าน้ำจืด และปลาปักเป้าน้ำเค็ม สารพิษที่อยู่ในปลาปักเป้าน้ำจืดคือ ซาซิท็อกซิน (Saxitoxin) ส่วนสารพิษที่อยู่ในปลาปักเป้าน้ำเค็ม คือ เทโตรโดท็อกซิน(Tetrodotoxin) การออกฤทธิ์ของซาซิท็อกซิน คล้ายกับเทโตรโดท็อกซิน แต่รุนแรงมากกว่า โดยส่วนที่มีพิษสูงที่สุด ของปลาปักเป้า คือ ตับ รังไข่ เครื่องใน รองลงมา คือ หนังปลาและเนื้อปลา

วันที่: 
Wed 6 March 2019
QR Code for https://www.stkc.go.th/info/7-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C-stellate-puffer
แหล่งที่มา: 
https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาปักเป้ายักษ์,https://www.thaihealth.or.th/Content/27597-เหตุที่ไม่ควรนำปลาปักเป้ามารับประทาน.html
Hits 2,463 ครั้ง