ขยะพิษใกล้ตัว

วันที่เผยแพร่: 
Mon 26 March 2018

ขยะพิษคืออะไร หลายคนอาจนึกถึงขยะจำพวก อิเล็กทรอนิกส์ เช่น แบตเตอรี่ เศษของไมโครชิฟต่าง ๆ หรือพวกหลอดไฟที่ใช้แล้ว แต่ขยะที่เป็นพิษยังมีอีกหลายชนิด 
ไม่ว่าจะเป็น กระป๋องสเปรย์ ตลับหมึกพิมพ์ที่หมดแล้ว  บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ เป็นต้น ขยะเหล่านี้หากเราไม่รู้จักวิธีการทิ้งหรือกำจัดให้ถูกที่จะก่อให้เกิด
ปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบมาสู่สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ เนื่องจากมีส่วนผสมของโลหะหนัก ตะกั่ว ปรอท บรรจุอยู่ในผลิตภัณฑ์พวกนี้ เพราะฉะนั้น 
เราควรมาทำความรู้จักกับขยะพิษและหาวิธีจัดเก็บหรือจัดการกับขยะพิษเหล่านั้น
 

1.สารไวไฟ หมายถึง สารที่ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่น น้ำมันก๊าด น้ำมันจารบี ทินเนอร์ ฯลฯ 
2.สารมีพิษ หมายถึง สารที่อาจทำให้เสียชีวิต หรือบาดเจ็บรุนแรงจากการสูดดม กินหรือสัมผัส เช่นน้ำยาล้างห้องน้ำ ยาฆ่าแมลง 
3.สารกัดกร่อน หมายถึง สารที่มีฤทธิ์เผาไหม้หรือทำลายผิวหนัง นอกจากนี้ยังทำลายระบบทางเดินหายใจได้ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ 
น้ำยาที่มีสารฟอกขาว ฯลฯ
4.สารที่ระเบิดได้ หมายถึง สารที่อาจระเบิดได้เมื่อถูกการเสียดสีหรือโดนความร้อน เช่น ดอกไม้ไฟ กระป๋องสเปรย์ต่าง ๆ 
5.สารออกซิไดซ์ หมายถึง สารที่เร่งการติดไฟสามารถทำให้ออกซิเจนออกมาเร่งการลุกไหม้ เมื่อสัมผัสกับสารไวไฟ หรือสารที่ติดไฟง่าย 
อาจก่อให้เกิดการติดไฟขึ้น เช่น สารเร่งดอกลำไย (มีส่วนผสมของโซเดียมคลอเรต)
6.สารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หมายถึง สารที่เมื่อปล่อยสู่สภาพแวดล้อมจะทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมทันที 
เช่น สารกำจัดศัตรูพืช เราสามารถสังเกตสัญลักษณ์ด้านข้างบรรจุภัณฑ์เพื่อสะดวกในการจัดการหรือจัดเก็บและแยกขยะก่อนทิ้งได้ดังนี้

table bin

ตาราง : แสดงสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้อันตราย และประเภทความอันตราย

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7
เจ้าของข้อมูล: 
http://www.nsm.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=6805:2018-03-02-03-55-31&Itemid=315
Hits 647 ครั้ง