น้ำยาเช็ดกระจก สารเคมีร้ายใกล้ตัวคุณ

วันที่เผยแพร่: 
Mon 9 July 2018

เราคงรู้ดีอยู่แล้วว่าในชีวิตประจำวันของเราต่างก็รายล้อมไปด้วยสารเคมีมากมาย ที่ถูกใช้เพื่อเป็นตัวช่วยต่าง ๆ ในกิจวัตรประจำวัน เพื่ออำนวยความสะดวกและรวดเร็ว แต่ความสะดวกรวดเร็วที่ได้มานั้น เราอาจจะต้องแลกด้วยความเสี่ยงในด้านสุขภาพต่าง ๆ ที่จะตามมาภายหลัง ทั้งตัวของคุณเองและคนที่อยู่รอบข้างคุณ

          การทำความสะอาดบ้านเป็นกิจกรรมปรกติที่คุณแม่บ้านส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้  แน่นอนว่าสิ่งหนึ่งที่ต้องใช้บ่อย ๆ ก็คือน้ำยาเช็ดกระจก

7382 01
ภาพที่ 1 : ภาพประกอบบทความเรื่องน้ำยาเช็ดกระจก
ที่มา : https://pixabay.com/th/

น้ำยาเช็ดกระจก

          สารเคมีใกล้ตัวที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำในบ้าน ด้วยคุณสมบัติฆ่าเชื้อและทำความสะอาดกระจกอย่างล้ำลึก  ผลิตภัณฑ์ที่มีการผสมสารเคมีเข้าด้วยกันทำให้เกิดปฏิกริยาทางเคมีที่เป็นอันตราย  เช่น เอทีลีนไกลคอล (ethylene glycol) ซึ่งถ้าได้รับเข้าไปในร่างกายอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อ สมอง หัวใจ และไต และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ การสูดดมอาจก่อให้เกิดอาการมึนหัว นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ที่ชื่อว่า เมทานอล (methanol) ในน้ำยานี้สามารถดูดซึมได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นทางผิวหนัง การหายใจ หรือการรับประทาน เมทานอลจะเข้าไปทำลาย สมอง ตับ ไต และอาจทำให้ตาบอดได้ ส่วนแอลกอฮอล์ประเภทไอโซโพรพิล (isopropyl alcohol) จะไปกดระบบประสาทส่วนกลางทำให้เกิดอาการซึม สลบ และมีโอกาสเสียชีวิต

          น้ำยาเช็ดกระจกเป็นสารเคมีประเภทกรด เป็นพิษต่อร่างกายหากซึมเข้าสู่ผิวหนัง  จึงเป็นอันตรายหากไปสัมผัส มีวิธีการสังเกตง่าย ๆ คือ เมื่อถูกผิวหนังจะรู้สึกแสบ ๆ คัน ๆ หรือปวดแสบปวดร้อนที่เป็นเช่นนี้เพราะกรดมีฤทธิ์ในการกัดกร่อน และมีกลิ่นเปรี้ยว

วิธีการแก้ไขเมื่อถูกสารเคมีประเภทกรด

  1. หากถูกบริเวณผิวหนัง ให้รีบล้างน้ำ หลายๆ ครั้ง 
  2. กรณีเข้าตา ให้รีบล้างตาหรือลืมตาในน้ำหลาย ๆ ครั้ง อย่าขยี้ตาเพราะจะทำให้เนื้อเยื่อเกิดการฉีกขาดอาการจะหนักขึ้น แล้วให้เอาผงฟูมา 1 ซอง ขนาด 20 กรัม ละลายในน้ำสะอาด 1 ลิตร (น้ำขวด) ละลายให้เข้ากัน (วิธีเหมือนกับถูกบริเวณผิวหนัง) แล้วลืมตาในสารละลายนี้แช่ไว้สัก 5-10 นาที หรือจนกว่าไม่มีอาการปวดแสบที่ตา แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

          การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารเคมีอันตราย ควรใช้อย่างระมัดระวังและมีสติ ควรอ่านฉลากก่อนใช้งานหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93
เจ้าของข้อมูล: 
http://www.scimath.org/article-science/item/7382-2017-07-20-07-20-44
Hits 4,764 ครั้ง