ภารกิจ “แตะ” ดวงอาทิตย์ของนาซา

วันที่เผยแพร่: 
Thu 16 August 2018

วันนี้ (12 ส.ค.) นาซาได้ส่งยาน พาร์คเกอร์ โซลาร์ โพรบ ขึ้นไปสำรวจชั้นบรรยากาศรอบนอกของดวงอาทิตย์แล้ว เมื่อเวลา 14.31 น. ที่ผ่านมา ตามเวลาในไทย

ยานสำรวจขนาดเท่ารถยนต์คันเล็ก ๆ นี้ มีภารกิจที่จะเข้าไปถึงชั้นบรรยากาศรอบนอกของดวงอาทิตย์ พร้อมกับเกราะป้องกันความร้อนพิเศษจะช่วยให้ยานทนความร้อนได้ถึง 1,500 องศาเซลเซียส โดยจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่สุดถึง 690,000 กม./ชม.

นาซาประกาศแผนดำเนินโครงการนี้เมื่อปี 2009 โดยใช้งบประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (เกือบ 5 หมื่นล้านบาท) โดยยานสำรวจมีกำหนดการโคจรรอบดวงอาทิตย์นาน 7 ปี โดยจะเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศบางส่วนของดวงอาทิตย์ แล้วจะเข้าใกล้พื้นผิวมากที่สุดเท่าที่เคยมีวัตถุซึ่งสร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์เคยสำรวจมา ส่วนเป้าหมายหลักของการเก็บข้อมูล คือเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนนอกสุดของชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ที่เรียกว่าโคโรนา ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์มีความรู้มากขึ้นถึงที่มาและพัฒนาการของลมสุริยะ

นาซาได้เปลี่ยนชื่อยานสำรวจดวงอาทิตย์ลำนี้จากเดิมคือ "โซลาร์โพรบพลัส" มาเป็น "พาร์กเกอร์ โซลาร์โพรบ" เพื่อเป็นเกียรติแก่ ศ.ยูจีน ปาร์กเกอร์ นักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกงานวิจัยด้านลมสุริยะ

นอกจากนาซาแล้ว องค์การอวกาศยุโรป เป็นอีกหน่วยงานที่มีแผนจะปล่อยยานสำรวจดวงอาทิตย์ชื่อ โซลาร์ ออร์บิเทอร์ ในเดือน ก.พ. ปี 2019

ภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์ครั้งสำคัญของมนุษยชาติ
เหตุผล 4 ข้อที่ยานในภารกิจสัมผัสดวงอาทิตย์ไม่มอดไหม้

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E2%80%9C%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%B0%E2%80%9D-%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B2
เจ้าของข้อมูล: 
https://www.bbc.com/thai/international-45132360
Hits 593 ครั้ง