โลกอาจขาดแคลนสารอินซูลินเทียมในอนาคตเพราะมีคนเป็นเบาหวานมากขึ้น

วันที่เผยแพร่: 
Mon 24 December 2018

นักวิจัยเตือนโลกอาจขาดเเคลนสารอินซูลินเทียมเพราะมีคนเป็นเบาหวานประเภทที่สองเพิ่มขึ้น

Harun Abdalla เป็นหนึ่งในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 กว่า 400 ล้านคนทั้งหมดทั่วโลก

โรคเบาหวานประเภทที่สองเกิดจากอาหารการกินเเละวิถึชีวิตที่ขาดการออกกำลังกาย

Abdalla กล่าวว่าตอนที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นเขาโรคเบาหวานประเภทที่สอง เขารู้สึกว่าทุกอย่างในชีวิตจบลงแล้ว

Abdalla อาศัยในสลัม Kibera สลัมที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา เขาตกงานหลังจากป่วยเป็นเบาหวานในปี 2006 หรือ 12 ปีที่แล้วเเละแทบไม่มีเงินพอซื้ออินซูลินเทียมมาบำบัดอาการของโรค เขาไม่สามารถรับประทานอาหารตามที่แพทย์แนะนำได้เพราะขาดรายได้ Abdalla กล่าวว่าเขารู้สึกหมดคุณค่าในชีวิต

คนที่อาศัยในสลัมแห่งนี้เกือบทุกคนไม่มีเงินพอที่ซื้อยารักษาเบาหวานได้ ทางการได้ตั้งศูนย์สุขภาพขึ้นเพื่อช่วยออกค่ายาเบาหวานให้ประชาชนส่วนหนึ่ง แต่จำนวนผู้ป่วยเบาหวานกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นและปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเป็นโรคเบาหวานประเภทที่สองคือการมีน้ำหนักตัวเกิน

Irene Aoko เจ้าหน้าที่การแพทย์ที่ศูนย์สุขภาพในสลัม Kibera กล่าวว่าคนในสลัมมีวิถีชีวิตที่ขาดการออกกำลังกายเเละอาหารที่รับประทานกันในสลัมก็ไม่ดีกับสุขภาพ ทำให้เสี่ยงต่อโรคเบาหวานกันมากขึ้น

ผู้สื่อข่าววีโอเอรายงานวารสารการเเพทย์เดอะเเลนเซ็ทชี้ว่าจำนวนผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่สองทั่วโลก คาดว่าน่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 511 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 2030 หรือ อีก 12 ปีข้างหน้า และ Dr. Sanjay Basu หัวหน้าผู้ร่างรายงานผลการวิจัยนี้กล่าวว่าผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่สองส่วนมากในประเทศเเอฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าจะเป็นคนที่เสี่ยงมากที่สุดที่จะขาดเเคลนสารอินซูลินเทียม

เขากล่าวว่าเเน่นอนว่าเอเชียเเละเเอฟริกาจะเป็นจุดที่ขาดเเคลนสารอินซูลินเทียมมากที่สุด ซึ่งตรงข้ามกับที่เราคาดคิดเนื่องจากลักษณะอาหารการกินเเละวิถีชีวิตเปลี่ยนไปทั่วโลก ทำให้มีคนในเอเชียเเละแอฟริกาเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาเดียวกันกับที่เริ่มมีปริมาณสารอินซูลินรักษาโรคลดลง

มีบริษัทยา 3 เเห่งที่ผลิตสารอินซูลินรักษาเบาหวานได้ 96 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดเเละยังไม่รู้ว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตให้เพียงพอแก่ความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้หรือไม่

Dr. Sanjay Basu หัวหน้าผู้ร่างรายงานผลการวิจัยยอมรับว่าการขาดเเคลนสารอินซูลินรักษาเบาหวานอย่างรุนแรงที่เขาคาดการณ์อาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ และเเม้ว่าการศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากคนที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ราว 60 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนทั้งหมดทั่วโลก

ทีมนักวิจัยไม่ได้รวมเอาปัจจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในแอฟริกาเข้าไว้ในการวิเคราะห์ด้วย นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนด้านนิสัยการกินและการหันไปออกกำลังกายกันมากขึ้น อาจจะมีผลให้ความต้องการใช้สารอินซูลินเทียมรักษาโรคลดลงได้

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99
Hits 338 ครั้ง
หมวดหมู่ OECD: