ทำความรู้จัก Literary Devices ที่พบเจอได้ในกลอนภาษาอังกฤษ

ทำความรู้จัก Literary Devices ที่พบเจอได้ในกลอนภาษาอังกฤษ
:
กลอนไทย คงได้เรียนกันจนทะลุปรุโปร่งแล้วใช่ไหมล่ะครับ? วันนี้เราจะมาไปทำความรู้จักกลวิธีทางวรรณศิลป์ ที่เรามักเจอบ่อย ๆ ในบทกลอนหรือเพลงนั่นเอง
:
Simile (คำอุปมา) - เป็นการเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง สังเกตคำอุปมาได้ง่ายๆ จากคำว่า เปรียบ, ดุจ, ดั่ง เช่น เพราะเธอนั้นเป็นเหมือนดั่งโลกทั้งใบ
:
Metaphor (คำอุปลักษณ์) - คำอุปลักษณ์ เป็นการเปรียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง แต่จะใช้การเปรียบให้เป็นสิ่ง ๆ นั้นไปเลย เช่น ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ, เธอคือดอกฟ้า ส่วนฉันคือหมาวัด
:
Hyperbole (คำอติพจน์) - เป็นการกล่าวเกินจริง จะใช้เพื่อเน้นข้อความของผู้พูดให้หนักแน่นขึ้น เช่น หิวจะแย่แล้ว/หิวไส้จะขาดแล้ว
:
Onomatopoeia (คำสัทพจน์) - เป็นคำที่ใช้เลียนเสียงต่าง ๆ จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ เช่น รถชนดังโครม เสียงวัวร้องมอมอ หมาเห่าโฮ่ง ๆ
:
Personification (บุคลาธิษฐาน/บุคคลวัต) - เป็นการบรรยายให้สิ่งไม่มีชีวิตมีความรู้สึกนึกคิดหรืออากัปกิริยาเหมือนมนุษย์ เช่น พระอาทิตย์ส่งยิ้มลงมาหาพวกเรา
:
Irony (คำเสียดสี) - ใช้คำเพื่อประชด เสียดสี แกล้งพูดไม่ตรงกับสิ่งที่ต้องการสื่อจริงๆ
:
Symbol (คำสัญลักษณ์) - คำสัญลักษณ์ เป็นคำที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เปรียบเทียบแทนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น สุนัขจิ้งจอก = คนเจ้าเล่ห์, นกพิราบ = ความสงบสุข
:
Imagery (ภาพในความนึกคิด/มโนภาพ) - ภาพในความนึกคิด/มโนภาพ เป็นการพรรณนาสิ่งต่าง ๆ ในมิติของประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่  รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส เช่น กลิ่นของขนมปังไหม้และเบคอนเยิ้มๆ
:
และนี่ก็เป็นเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในกลอนอังกฤษซึ่งมีความคล้ายคลึงเหมือนกับภาษาไทยอยู่หลายส่วน หวังว่าวันนี้จะทำให้เพื่อน ๆ เข้าใจหลักการที่ใช้ในบทกลอนภาษาอังกฤษหรือเพลงนั่นเองครับ
:
#STKC

วันที่: 
Wed 17 January 2024
แหล่งที่มา: 
https://www.dek-d.com/studyabroad/62647
Hits 389 ครั้ง
หมวดหมู่ OECD: