ทำไมทุกๆ 4 ปี ถึงจะมีวันที่ 29 กุมภา?

น่าน้อยใจไหม? เดือนอื่นมี 30-31 วัน ทำไมเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีมากสุดแค่ 29 วัน? แถม 4 ปีมีแค่หนเดียวอีก? ไปไขข้อสงสัยกันเลยครับ
 
ถ้าจะอธิบายเรื่องนี้ เราคงต้องเท้าความกลับไปตั้งแต่สมัยที่ใช้ปฏิทินโรมัน ที่ 1 ปี มีแค่ 10 เดือน เทียบกับปัจจุบันก็เดือนมีนาคม - ธันวาคม จนในตอนหลัง จูเลียส ซีซาร์ เห็นว่าปฏิทินโรมันไม่สมเหตุสมผล จึงได้เปลี่ยนมาใช้เป็น ปฏิทินจูเลียน ที่อิงจำนวนวันตามสุริยคติ (จำนวนวันที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ได้ 1 รอบ)
 
จึงมีการเพิ่มเดือนเข้าไป 2 เดือน คือ มกราคมและกุมภาพันธ์ และกำหนดให้แต่ละเดือนมี 30 และ 31 วันสลับกันไป ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ให้มี 29 วัน และ 30 วันในปีอธิกสุรทิน (เนื่องจาก 1 ปี มี 365.25 วัน เขาจึงนำเศษวันของแต่ละปี มารวมกันเป็น ปีอธิกสุรทินที่มี 366 วัน หรือทุกๆ 4 ปี จะมี ปีอธิกสุรทิน 1 ครั้ง)
 
ปฏิทินจูเลียนถูกใช้สืบต่อมาจนถึงยุคของ ออกัสตุส ซีซาร์ ที่ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ เขาอยากเปลี่ยนชื่อเดือนเพื่อเป็นเกียรติแก่ตัวเอง จึงทำการเปลี่ยนชื่อเดือนที่ 8 ซึ่งเป็นเดือนเกิดของตน จากเดิมชื่อ Sextilis เป็น August
 
ในทีแรกเดือน August มีเพียง 30 วัน แต่การที่มีจำนวนวันเป็นเลขคู่ ถือว่าเป็นโชคร้าย จึงไปดึงวันจากเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นเดือนที่เกิดทีหลังสุด ออกมา 1 วัน เพื่อใส่เข้าไปในเดือน August ให้มี 31 วัน จึงทำให้เดือนกุมภาพันธ์เหลือเพียง 28 วัน และมี 29 วันในปีอธิกสุรทินนั่นเองครับ
 
#STKC #ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
 
 
 

วันที่: 
Wed 28 February 2018
แหล่งที่มา: 
http://oa.kapook.com/view109913.html
Hits 986 ครั้ง
คำสำคัญ: