ทำไมพลุถึงมีหลายสี

ทำไมพลุที่แตกตัวออกมามีสีที่ต่างกัน? อะไรคือหลักการทำงานของพลุ วันนี้เรามาหาคำตอบกันเลยครับ
 
ก่อนอื่น มาดูส่วนประกอบของพลุกันก่อน
1. ชนวน
2. เปลือกห่อหุ้ม
3. ดินปืนส่งพลุ
4. ชนวนคุมเวลาระเบิด
5. ดินปืนจุดระเบิด
6. เม็ดดาว
 
หลักการทำงานของพลุ คือ เมื่อเราจุดไฟที่ชนวน ไฟจะลุกไหม้ไปถึงดินปืน เกิดการเผาไหม้ และแรงปะทุส่งให้ไส้พลุถูกยิงขึ้นฟ้า ในขณะที่ชนวนคุมเวลาระเบิดจะเริ่มเกิดการเผาไหม้ เมื่อไฟสัมผัสกับส่วนผสมต่างๆ ภายในไส้พลุ ทำให้ระเบิดออก ทำให้เม็ดดาวแตกกระจายออกมาเป็นสีสันที่เราเห็นตามท้องฟ้า ซึ่งสารเคมีต่างชนิดกันทำให้พลุมีสีที่แตกต่างกัน
 
สทรอนเชียมคาร์บอเนต (SrCO3) ให้สีแดง
ลิเทียมคาร์บอเนต (Li2CO3) ให้สีแดง
แบเรียมคลอเรต (BaClO3) ให้สีเขียว
คอปเปอร์ซัลเฟต (CuSO4) ให้สีฟ้า
แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ให้สีเหลือง
โซเดียมออกซาเลต (Na2C2O4) ให้สีเหลือง
แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) ให้สีส้ม
 
แต่ถึงแม้ว่าพลุจะมีความสวยงาม แต่ก็มีอันตรายสูงมากเหมือนกัน ต้องใช้ผู้ชำนาญในการผลิตและการจุด แต่สำหรับน้องๆ ถ้าอยากชื่นชมความสวยงามของพลุ ง่ายๆ เลยแค่ออกไปรอชมตามเทศกาลต่างๆ ก็จะได้ชมพลุที่สวยงาม อลังการและปลอดภัยแล้วล่ะครับ
 
#STKC
 
 
 

วันที่: 
Sun 14 April 2019
แหล่งที่มา: 
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/64730/-blo-sciche-sci-
Hits 2,441 ครั้ง