ประวัติศาสตร์ของไดโนเสาร์ในประเทศไทย

ไดโนเสาร์ในไทย ใครว่าไม่มี?! วันนี้เรามาดูเรื่องราวการขุดค้นพบไดโดนเสาร์สายพันธุ์ที่พบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแบบคร่าวๆ กัน ไปดูกันเลยครับ
 
เมื่อปี พ.ศ. 2523 ประเทศไทยได้เริ่มมีการขุดค้นพบซากไดโนเสาร์ โดยตัวที่อายุเก่าแก่ที่สุดที่พบคือ ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย (209 ล้านปีก่อน) และอายุน้อยที่สุดอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนกลาง (100 ล้านปีก่อน) จะมีพันธุ์อะไรบ้าง ไปดูกันเลยครับ
 
- สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus Isanensis) - ค้นพบเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 ที่จังหวัดขอนแก่น เป็นไดโนเสาร์ที่เดิน 2 เท้า ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 6.5 เมตร มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น หรือเมื่อประมาณ 130 ล้านปีก่อน
 
- ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่ (Phuwiangosaurus Sirindhornae) - ไดโนเสาร์ที่เดิน 4 เท้า คอและหางยาว ชนิดแรกของไทย ถูกค้นพบที่บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
 
- สยามโมซอรัส สุธีธรณี (Siamosaurus Suteethorni) - ไดโนเสาร์ที่เดิน 2 เท้า ขนาดใหญ่ ความยาวประมาณ 7 เมตร มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้นเช่นกัน ค้นพบที่จังหวัดขอนแก่น
 
- คอมพ์ซอกนาธัส (Compsognathus) - ไดโนเสาร์ขนาดเล็ก ค้นพบที่จังหวัดขอนแก่น
 
- ซิททาโกซอรัส สัตยารักษ์คิ (Psittacesaurus Sattayaraki) - ไดโนเสาร์สะโพกแบบนก ปากนกแก้ว ค้นพบที่จังหวัดชัยภูมิ
 
- กินรีมิมัส (Kinnareemimus) - ไดโนเสาร์นกกระจอกเทศตัวแรกของไทย ค้นพบที่จังหวัดขอนแก่น
 
- อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชี (Isanosaurus Attavipatchi) - ไดโนเสาร์กินพืชที่เก่าแก่ที่สุด พบที่จังหวัดชัยภูมิ
 
- สเตโกซอรัส (Stegosaurus) - ไดโนเสาร์เก่าแก่ที่มีอายุในช่วงจูราสสิคตอนปลาย ค้นพบที่จังหวัดกาฬสินธุ์
 
#STKC
 
 
 

วันที่: 
Fri 14 September 2018
แหล่งที่มา: 
http://www.finearts.go.th/nakhonphanomlibrary/parameters/km/item/การค้นพบไดโนเสาร์ในประเทศไทย
Hits 1,279 ครั้ง