[วันสำคัญ] วันวาเลนไทน์ - ความรักเกิดขึ้นได้อย่างไร? อธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์

สุขสันต์วันวาเลนไทน์ครับน้องๆ วันนี้ทุกหนแห่งคงฟุ้งไปด้วยกลิ่นความรัก เราเลยถือโอกาสมาอธิบายว่าจริงๆ แล้วความรักเกิดขึ้นได้อย่างไร ตามหลักวิทยาศาสตร์
 
ผลงานการค้นคว้าที่ยอมรับกันมากที่สุดคือ ผลงานของ ศาสตราจารย์เฮเลน ฟิชเชอร์ เขาอธิบายว่าความรักของมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ "หลง รัก และผูกพัน"
โดยมีตัวการคือสารเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ฟีโรโมน (Pheromones) เป็นคนนำพาเราดำดิ่งลงไปสู่ห้วงแห่งความรัก
 
ฟีโรโมนเป็นสารเคมีที่สัตว์หลายชนิดสร้างขึ้นมาเพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม มนุษย์ก็เช่นกัน ฟีโรโมนไม่สามารถรับรู้ได้โดยจมูก แต่รับรู้ได้โดยสมอง ซึ่งคนที่จะได้รับรู้ได้ต้องมีฟีโรโมนตรงกับเราเท่านั้น หรือที่เขาเรียกว่า เคมีตรงกัน
 
"หลง"
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายจะถูกขับเลื่อนด้วยสารเคมี ทำให้รู้สึกเขินเวลามองกัน หรืออยู่ใกล้กันแล้วหัวใจเต้นแรง ทำให้ทุกอย่างเป็นสีชมพู ฮอร์โมนที่สำคัญในระยะนี้มี 2 ชนิด คือ เอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเด่นในเพศหญิง และเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ฮอร์โมนเด่นในเพศชาย
 
"รัก"
ร่างกายจะถูกควบคุมด้วยสารสื่อประสาทที่เรียกว่า โมโนอะมิเนส (Monoamines) ประกอบไปด้วยฮอร์โมน 3 ชนิด คือ โดพามีน (Dopamine), อะดรีนาลีน (Adrenalin) และเซโรโทนิน (Serotonin) ส่งผลให้สมองตื่นตัว หัวใจเต้นแรง และขับเคลื่อนด้วยความรู้สึก
 
"ผูกพัน"
เขาทั้งสองพร้อมจะใช้ชีวิตคู่แล้ว เพราะช่วงนี้จะมีฮอร์โมนที่สำคัญคือ ออกซีโทซิน (Oxycontin) หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง ซึ่งส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก เนื่องจากสารนี้จะหลั่งออกมากระตุ้นให้มดลูกบีบตัว เพื่อให้แม่มีแรงเบ่งคลอด และกระตุ้นการสร้างน้ำนม นอกจากนี้ยังมี ฮอร์โมนวาโซเพรนซิน (Vasopression) ที่จะหลั่งออกมาเพื่อตอกย้ำเรื่องการรักเดียวใจเดียว อีกด้วย
 
ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมครับ ว่าร่างกายจะมีกลไกที่ซับซ้อนและสวยงามขนาดนี้ แต่ความรักที่เกิดมาแล้ว ไม่ว่ามันจะจบลงแบบไหน #ความรักก็สวยงามเสมอ
 
#STKC #วันวาเลนไทน์ #ValentinesDay

วันที่: 
Wed 14 February 2018
แหล่งที่มา: 
https://www.dek-d.com/education/33950/
Hits 1,200 ครั้ง