อันตรายจากก๊าซพิษ

ก๊าซคาร์บอนโมนอกไซด์ (Carbon monoxide)

ก๊าซชนิดนี้ใกล้ตัวเรามาก เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและกลิ่น โดยเกิดจากรถยนต์ที่เครื่องยนต์ทำงานเผาไหม้ไม่ปกติและในโรงงานต่าง ๆ หลายฝ่ายจึงออกมารณรงค์ไม่ให้ เปิดแอร์นอนในรถ เพราะก๊าซจะออกมาทางท่อไอเสีย และอาจรั่วเข้าไปในตัวรถจนอาจเกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ โดยอาการหลังจากที่สูดดมก๊าซชนิดนี้ ถ้าสูดดมในปริมาณที่ไม่มากนักอาจจะมีอาการ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แต่ถ้าหากสูดดมในปริมาณที่มากจะทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้

ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์

เป็นแก๊สพิษที่มีความรุนแรงมากกว่าแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์มาก ส่วนผสมในอากาศ 100 ppm. มีผลให้ผู้สูดดมหมดสติและเสียชีวิตได้ในเวลา 30-60 นาที แก๊สนี้เกิดจากการเผาไหม้สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีองค์ประกอบของคลอรีน เช่น พวกพลาสติก ยาง เส้นใย ขนสัตว์ หนังสัตว์ ไม้ หรือผ้า ไหม จึงมีอันตรายมากในการเผาไหม้ในอาคารหรือในพื้นที่แคบ เมื่อหายใจเข้าสู่ร่างกาย ทำให้หมดสติ ชัก และตายได้รวดเร็วภายในเวลา 5 นาที ถ้าได้รับในปริมาณเล็กน้อย ทำให้มึนงง หายใจเร็ว อาเจียน หน้าแดง ปวดศีรษะ ชีพจรเต้นเร็ว และหมดสติ

ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือ ‘ก๊าซไข่เน่า’

ก๊าซนี้เกิดกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น จากโรงงานฟอกหนัง โรงงานผลิตกาว โรงงานผลิตน้ำตาล และเกิดขึ้นในน้ำเสีย น้ำเน่า และสิ่งโสโครก โดยเมื่อปี 2559 เคยมีเหตุการณ์ ภูเขาก๊าซไข่เน่า ที่คนพูดถึงเป็นอย่างมาก ซึ่งอาการพิษเฉียบพลันของผู้ที่ได้รับก๊าซนี้คือ คลื่นไส้ หายใจขัดต่อเนื่องจากการขาดออกซิเจน หมดสติ และอาจถึงตายได้ถ้ามีความเข้มข้นสูง

ก๊าซน้ำตา

ก๊าซน้ำตาส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการปราบปราม คือ ก๊าซคลอโรอะซิโตฟีโนน เป็นพิษต่อเส้นประสาท ตา ทำให้ปวดแสบ น้ำตาไหล ถ้าความเข้มข้นในบรรยากาศสูง ทำให้ปอดบวมน้ำ ถึงตายได้

ก๊าซแอมโมเนีย

เป็นก๊าซที่รู้จักกันดี ใช้ปริมาณเล็กน้อยสูดดมแก้อาการวิงเวียนเป็นลม โดยก๊าซชนิดนี้เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการอุตสาหกรรมจากโรงงานเผาถ่าน ฟอกหนัง และโรงงานน้ำตาล เป็นต้น หรือมีในกองขยะ น้ำเน่า สมัยก่อนใช้ก๊าซแอมโมเนียทำให้เกิดความเย็นในการทำน้ำแข็ง ถ้าได้รับแอมโมเนียปริมาณปานกลางทำให้จาม น้ำตาไหล แสบคอ ไอมีเสมหะปนเลือด สำลัก หายใจขัด ความดันโลหิตสูง เสียงแหบ ถ้าความเข้มข้นสูง หมดสติทันที และถึงตายได้

วันที่: 
Mon 5 July 2021
แหล่งที่มา: 
https://www.singha-r-sa.org/อันตราย-จาก-ก๊าซพิษ/
Hits 2,087 ครั้ง