โคลนนิ่งที่พัฒนาในไทย

การโคลนนิ่งคืออะไร?
ในไทยเคยทำสำเร็จไหม มาดูกันครับ
 
การโคลน (Cloning) ในทางเทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการสร้างสำเนาส่วนดีเอ็นเอ (DNA) เพื่อผลิตประชากรที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน
 
ความจริงแล้วการโคลนนิ่งนั้น มนุษย์สามารถทำได้ตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากไม่ได้ใช้เทคโนโลยีอะไรมากมาย โดยเริ่มจากโคลนนิ่งพืช ที่เราคุ้นหูกันในคำว่า "การเพาะชำพืช"
 
แต่เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ในปี พ.ศ. 2540 ได้ทำการโคลนนิ่งแกะชื่อ ดอลลี่ (Dolly) ด้วยนิวเคลียส (Nucleus) จากเซลล์เต้านมของแกะซึ่งเป็นเซลล์ร่างกาย (Somatic Cell) ได้ประสบความสำเร็จ ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญทำให้การโคลนนิ่งเกิดความเจริญก้าวหน้า
 
และสิ่งที่น้องๆ หลายคนอาจไม่เคยรู้คือ ประเทศไทยเคยทำโคลนนิ่งสัตว์สำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2543 มาแล้ว และเป็นประเทศที่ 6 ของโลกที่ทำสำเร็จอีกด้วย โดยนำเซลล์ใบหูของลูกโคแบรงกัส เพศเมีย มาเป็นเซลล์ต้นแบบ ทำให้เกิดลูกโคโคลนนิ่งตัวแรกของประเทศไทย มีชื่อว่า “อิง” เป็นลูกโคสีดำ เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2543 นั่นเองครับ
 
#STKC
 
 
 

วันที่: 
Fri 8 March 2019
แหล่งที่มา: 
https://th.wikipedia.org/wiki/การโคลน
Hits 2,627 ครั้ง
คำสำคัญ: