PM2.5ฝุ่นจิ๋ว อันตรายกว่าที่คิด

วันที่เผยแพร่: 
Fri 24 February 2023

     อีกปัญหาสุขภาพที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม คือ ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ที่กลับมามีปริมาณเกินค่ามาตรฐานพร้อมกับลมหนาว ซึ่งล่าสุด จากการรายงานคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล  อยู่ในระดับคุณภาพปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เกินมาตรฐานทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงภาคเหนือ (ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพสะสมในระยะยาว หากได้รับอย่างต่อเนื่อง

สาเหตุของฝุ่นมีแหล่งกำเนิดมาจาก 2 แหล่ง คือ
1.แหล่งกำเนิดปฐมภูมิ เช่น การคมนาคมขนส่ง, การเผาในที่โล่งแจ้ง, โรงงานอุตสาหกรรม, โรงงานผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
2.แหล่งกำเนิดทุติยภูมิ เช่น การปฏิกิริยาเคมีในอากาศโดยมีสารเคมีกลุ่มซัลเฟอร์ หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น รวมทั้งสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตราย เช่น ปรอท, แคดเมียม, อาร์เซนิก, โพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งจำนวนมาก

      ปัจจัยที่ทำให้ PM 2.5 ยังคงเป็นปัญหาในปัจจุบัน คือ ยังคงมีแหล่งสร้างมลพิษทางอากาศซึ่งเรายังไม่สามารถควบคุมให้ปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งที่มาเหล่านี้ลดลงได้ รวมถึงสภาพความกดอากาศต่ำ ทำให้การเคลื่อนย้ายของฝุ่นมลภาวะทางอากาศไม่ถ่ายเทออกไปโดยง่าย”

สัญญาณบ่งบอกร่างกายกำลังได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5
ฝุ่น PM 2.5 สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั่วไประยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะถ้ามีการสะสมในร่างกายเป็นระยะเวลานานๆ เช่น

-ต่อระบบผิวหนัง ทำให้มีปัญหาผื่นคัน ผื่นแพ้, ลมพิษ, ผิวหน้าเหี่ยวแพ้ง่าย และเกิดริ้วรอยบริเวณร่องแก้มมากยิ่งขึ้นด้วย
-ต่อระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นภูมิแพ้, โรคหืด, โรคถุงลมโป่งพอง, ทำให้เกิดปัญหาโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, มะเร็งปอด
-ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง
-มีผลต่อการพัฒนาการสติปัญญาของเด็ก
-กระทบต่อการเจริญเติบโตของร่างกายในเด็ก และสามารถส่งผลถึงทารกในครรภ์มารดาทำให้เจริญเติบโตช้าหรือคลอดก่อนกำหนดได้

วิธีป้องกัน และดูแลสุขภาพจากฝุ่น PM 2.5 แนะนำ 3 วิธีหลักๆ คือ
1.ใช้หน้ากากที่มีคุณภาพ เช่น N95 หากไม่มีอาจใช้หน้ากากอนามัยซ้อนกัน 2 ชั้น แต่การสวมใส่หน้ากาก ควรสวมใส่อย่างถูกต้อง คือ ควรสวมใส่ปิดให้แนบสนิทกับใบหน้าทุกส่วน
2.ควรอยู่ในอาคาร บ้าน หรือพื้นที่ปิดมิดชิดมากกว่าการอยู่นอกบ้านหรือในพื้นที่โล่ง เพราะจะมีโอกาสสัมผัสฝุ่นน้อยลง
3.ควรเปิดเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองที่มีคุณสมบัติในการกรองฝุ่น PM 2.5 ในกรณีที่ไม่มีการเปิดแอร์ ก็ควรเปิดพัดลมร่วมกับเปิดเครื่องฟอกอากาศ โดยปิดห้องให้มิดชิดไม่ให้อากาศภายนอกเข้ามาภายในห้อง”

แหล่งที่มา
https://thainakarin.co.th/
 

เผยแพร่ : ว่าที่ร้อยตรีณภัทร โพธิ์อยู่
(เจ้าหน้าที่พัฒนาเว็บไซต์และประสานงานโครงการ)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)

Social Media
Facebook : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society 
Tiktok : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
instagram : stkcsociety

 

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/pm25%E0%B8%9D%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%8B%E0%B8%A7-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94
Hits 216 ครั้ง