กัมมันตรังสี จากระเบิดนิวเคลียร์ อันตรายแค่ไหน

วันที่เผยแพร่: 
Wed 12 October 2022

         แม้จะมีการพูดถึง “อาวุธนิวเคลียร์” อยู่บ่อยครั้งในสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองของภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก  จนกระทั่งได้เกิด “สงครามรัสเซีย – ยูเครน” ขึ้น ทำให้คำว่า อาวุธนิวเคลียร์ กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง เนื่องจากประเทศรัสเซีย เป็นหนึ่งในประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์มากที่สุดในโลก และทั่วโลกต่างได้เคยเห็นภาพประวัติศาสตร์อันโหดร้าย ในการใช้ “อาวุธนิวเคลียร์” ที่เกิดขึ้นจริงในสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้จะถูกใช้เพียงแค่ 2 ลูกในประวัติศาสตร์ แต่ทุกๆ คนบนโลกนี้ ก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีกครั้ง

แบ่งลักษณะอาการจากการได้รับกัมมันตรังสี ดังนี้ 
         1.เป็นพิษเฉียบพลัน (acute radiation syndrome) กรณีที่อยู่ในรัศมีระยะ 30 กิโลเมตรจากจุดระเบิด อาจเสี่ยงได้รับพิษกัมมันตรังสีเข้มข้นแบบเฉียบพลัน มีอัตราเสียชีวิตประมาณ 50% ซึ่งหากรอดชีวิต ก็ยังอาจเป็นโรคมะเร็งได้ในเกณฑ์ที่สูง
         สำหรับผู้ที่อยู่ห่างออกไปจากรัศมี 30กิโลเมตร พลังงานจากการระเบิดกัมมันตภาพรังสีจะลดลงไปตามระยะทางที่ห่างออกไป แต่ก็ยังมีพิษแบบเรื้อรังต่อไปได้ โดยยังอาจจะมีอาการแบบเรื้อรัง ค่อยเป็นค่อยไป เพราะได้รับรังสีในปริมาณไม่มาก แต่สามารถทำลายดีเอ็นเอ ทำให้เกิดจากกลายพันธุ์ของยีนและนำไปสู่โรคมะเร็งได้

หากได้สัมผัสกับสารกัมมันตรังสี 
         ต้องล้างการปนเปื้อนร่างกาย ถอดเสื้อผ้าและเครื่องแต่งตัวทั้งหมด ใส่ในถุงที่ปลอดภัยปิดสนิท เพื่อการทำลายอย่างถูกต้อง อาบน้ำชำระล้างร่างกายทั้งหมดให้สะอาดด้วยน้ำเย็นและสบู่อ่อน ถ้ามีบาดแผลต้องชำระล้างให้สะอาด และปิดบาดแผลป้องกันไม่ให้สัมผัสกับสารรังสีอีก

         2.พิษจากฝุ่นปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี โดยฝุ่นที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีสามารถลอยแผ่กระจายตามกระแสลมในบริเวณกว้าง ปนเปื้อนอยู่ในพืชพรรณ ธัญญาหาร พื้นดิน แหล่งน้ำธรรมชาติ จึงอาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่เรารับประทานในอนาคตได้ ผู้ที่บริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี อาจมีอาการระคายเคือง อ่อนเพลีย ท้องเสีย ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน เม็ดเลือดขาวถูกทำลายอย่างรุนแรง ระบบการสร้างโลหิตจากไขกระดูกบกพร่อง มีความต้านทานโรคต่ำ ผิวหนังพุพอง ผมร่วง ปากเปื่อย เสี่ยงโรคมะเร็ง และหากรับประทานเข้าไปมากๆ อาจอันตรายถึงชีวิตได้

เผยแพร่ : ณภัทร โพธิ์อยู่ (เจ้าหน้าที่บริหารจัดการเว็บไซต์และประสานงานโครงการ)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)

Social Media
Facebook : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society 
Tiktok : stkcsociety
Twitter : stkcsociety

แหล่งที่มา
https://www.mcot.net/view/5tQGMN6a

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99
Hits 991 ครั้ง