ขี้ไคลมาจากไหน?

วันที่เผยแพร่: 
Wed 18 May 2022

   ผิวหนังของเราเป็นอวัยวะที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดและเป็นปราการชั้นนอกที่ปกคลุมร่างกาย แบ่งเป็น 3 ชั้น ซึ่งขี้ไคลคือการสะสมของเซลล์ผิวที่อยู่บนเซลล์ผิวชั้นนอกสุด (Stratum Corneum) ของผิวชั้นหนังกำพร้า ขี้ไคลมีลักษณะเป็นคราบสีน้ำตาลเข้มหรือดำบนผิวหนัง พบได้ทั่วร่างกาย แต่มักพบบริเวณคอ ข้อพับแขนและขา ข้อเท้า และตาตุ่ม

   ขี้ไคล คือ หนังกำพร้าส่วนบนของผิวหนัง ซึ่งลอกออกตามปกติทุกวันเมื่อหมดอายุขัย ทั้งนี้การหลุดมาเป็นขี้ไคลขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเป็นต้นว่า สภาพแวดล้อม แสงแดด และสารเคมีที่ได้รับ ซึ่งในแต่ละเชื้อชาติอาจจะมีลักษณะขี้ไคลต่างกันไปโดยทั่วไปขี้ไคลจะมีลักษณะเป็นคราบดำ ๆ หลุดออกมาเวลาถูทำความสะอาด

    อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฎว่าขี้ไคลมีประโยชน์หรือโทษแก่ร่างกาย  แต่หากปล่อยไว้ให้เกิดการหมักหมมเป็นเวลานาน  โดยไม่สนใจทำความสะอาดจะทำให้มีกลิ่นตัวมากขึ้นแม้จะเรื่องขี้ๆ แต่สิ่งใกล้ตัวเหล่านี้ก็สามารถบอกความเป็นไปของสุขภาพของเราได้มากมายหลายอย่างเหมือนกัน อย่าลืมใส่ใจในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ด้วย

วิธีกำจัดขี้ไคลให้ผิวสะอาด
แม้ผิวของเราจะผลัดเซลล์ผิวเก่าและสร้างเซลล์ผิวใหม่ทดแทนได้เอง แต่บางครั้งกระบวนการผลัดเซลล์ผิวของร่างกายอาจไม่สมบูรณ์จากปัจจัยต่าง ๆ การผลัดเซลล์ผิว (Exfoliation) จึงเป็นวิธีช่วยกำจัดสิ่งสกปรกและเซลล์ผิวเก่าที่ตกค้างอยู่ได้ดียิ่งขึ้น โดยสามารถแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

1. การใช้อุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์สครับผิว (Physical Exfoliation)
วิธีนี้เป็นการใช้แรงขัดผิวให้ขี้ไคลหลุดออกโดยการใช้มือ อุปกรณ์ขัดผิว เช่น ใยบวบ แปรง ฟองน้ำขัดผิว หรือผลิตภัณฑ์สครับผิวที่มีขายทั่วไป

2. การใช้กรดธรรมชาติ (Chemical Exfoliation)
กรดธรรมชาติที่นำมาใช้กำจัดขี้ไคลคือการใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น สบู่อาบน้ำและโลชั่นทาผิวที่มีส่วนผสมของสารที่ช่วยในการผลัดเซลล์ผิว ซึ่งสารที่นิยมใช้ในการกำจัดขี้ไคลและช่วยปรับผิวให้กระจ่างใส

แหล่งที่มา
https://guru.sanook.com/6310/
https://www.pobpad.com/

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99
Hits 1,878 ครั้ง