มารู้จักภูเขาไฟกันเถอะ!

วันที่เผยแพร่: 
Tue 7 December 2021

   ธรรมชาติสร้างชีวิต ขณะเดียวกันก็ทำลายชีวิตได้เช่นกัน  เห็นได้ชัดเจนจากภัยธรรมชาติทั้งหลาย เช่น พายุหมุน แผ่นดินไหว 
ภูเขาไฟระเบิด ซึ่งสำหรับประเทศไทยเองก็เคยประสบกับภัยธรรมชาติหลายประการ แต่ภัยธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างห่างไกล
ตัวเราก็คือ ภูเขาไฟระเบิด เพราะแม้ว่าประเทศไทยจะมีภูเขาไฟอยู่บ้าง แต่ก็เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว มันจึงไม่ระเบิดหรือปะทุลาวาที่
น่ากลัวออกมา อย่างไรก็ตาม หลายประเทศในโลก ก็ยังคงต้องเผชิญหน้ากับความน่าสะพรึงกลัวของมัน

ประเภทของภูเขาไฟ
แบ่งตามลักษณะรูปทรงได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano) เป็นภูเขาไฟที่มีความลาดชันน้อย เพียง 6-12 องศาเท่านั้น เนื่องจากเกิดจาก
แมกมาบะซอลต์ มีอัตราการไหลเร็ว แข็งตัวช้า ทำให้ลาวาไหลไปได้ไกล และสามารถก่อตัวเป็นภูเขาไฟขนาดใหญ่ได้ เช่น ภูเขา
ไฟมอนาคี ที่เกาะฮาวาย หรือภูเขาไฟกระโดง จังหวัดบุรีรัมย์
2. ภูเขาไฟแบบกรวยกรวด (Ash and Cinder Volcano) เป็นภูเขาไฟที่มีรูปทรงกรวย มีความลาดชันปาน
กลางประมาณ 30 - 40 องศา เกิดจากการระเบิดรุนแรง ทำให้กรวดและเถ้าภูเขาไฟกระเด็นขึ้นสู่ด้านบนแล้วตกลงมาทับถมกัน
บริเวณปากปล่อง เช่น ภูเขาไฟในรัฐออริกอน ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา
3. ภูเขาไฟแบบสลับชั้น (Composite Volcano) เป็นภูเขาไฟขนาดกลาง ลักษณะเป็นรูปทรงกรวย มีปากปล่อง
ขนาดใหญ่และมีแอ่งบริเวณปากปล่อง ภายในภูเขาไฟมีธารลาวา กรวด เถ้าภูเขาไฟ เรียงสลับชั้นกันไป เช่น  ภูเขาไฟฟูจิ 
ประเทศญี่ปุ่น หรือภูเขาไฟปอมเปอิ ประเทศอิตาลี

   นอกจากนี้ยังมีการแบ่งเป็นภูเขาไฟแบบ Fissure Volcano ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่เกิดจากแมกมาบะซอลต์แทรกตัวขึ้น
มาบริเวณรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก และ Caldera Volcano ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่มีหุบเขาอยู่บริเวณยอดอีกด้วย

การระเบิดของภูเขาไฟ
หากแบ่งประเภทของภูเขาไฟตามระยะเวลาการเกิด จะแบ่งภูเขาไฟได้เป็น 3 ประเภท
1. ภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ (active volcano) เป็นภูเขาไฟที่พร้อมจะระเบิดได้ตลอดเวลา ซึ่งมีอยู่มากบนหมู่เกาะฮาวาย
2. ภูเขาไฟที่สงบลงแล้ว (domant volcano) ภูเขาไฟที่ดับอยู่ แต่ก็มีโอกาสจะระเบิดหรือปะทุขึ้นมาอีกเมื่อไรก็ได้
3. ภูเขาไฟที่ดับแล้ว (extinct volcano) ภูเขาไฟที่ไม่มีโอกาสระเบิดอีกแล้ว เนื่องจากเปลือกโลกบริเวณนั้นอยู่
ในภาวะเสถียร ไม่มีการขยับหรือเคลื่อนตัวแล้ว

    กระบวนการระเบิดของภูเขาไฟนั้นเริ่มจากการที่ใต้ผิวโลกมีความร้อนสะสมอยู่มาก โดยเฉพาะบริเวณที่เรียกว่า
"จุดร้อน" ซึ่งจะทำให้เนื้อโลกชั้นล่างหลอมละลายเมื่อความดันและความร้อนสูงถึงระดับหนึ่ง จะเกิดการระเบิดและ
ของเหลวที่หลอมละลายใต้ผิวโลกแทรกตัวขึ้นมาตามช่องหรือปล่องของภูเขาไฟ ซึ่งนั่นเรียกว่า "ลาวา (Lava)"

แหล่งที่มา
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/6134
2

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%B0
Hits 3,988 ครั้ง