เกลือและโซเดียม

วันที่เผยแพร่: 
Mon 23 August 2021

สารเคมีชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในครัวทั่ว ๆ ไป นั่นก็คือเรื่องของ เกลือและโซเดียม หรือพูดกันทั่ว ไป ว่า เกลือแกง นั่นเอ ซึ่งจัดเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ใช้ในการปรุงรสอาหาร ใช้ถนอมอาหารได้ครับ องค์การอนามัยโลกกำหนดปริมาณเกลือสูงสุดที่คนเรารับประทาน ไว้ที่วันละ 6 กรัม แต่จากการสำรวจพบว่าคนไทย รับประทานเกลือ ประมาณวันละ 7 กรัม แพทย์และนักโภชนาการศึกษาพบว่าการบริโภคเกลือมากเกินความต้องการจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งจะนำไปสู่การเป็น โรคหลอดเลือดสมองแตก โรคหัวใจ และไตวายได้ในที่สุด

เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายจำเป็นต้องได้รับธาตุโซเดียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเกลือ เพื่อทำหน้าที่ได้ตามปกติ โซเดี่ยมจะควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกายและรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ยังช่วยการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจ ตลอดจนการดูดซึมสารอาหารบางอย่างในลำไส้เล็ก

ร่างกายคนเราสามารถเก็บรักษาโซเดียมที่สะสมไว้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ นักวิจัยพบว่าคนที่กินอาหารที่มีเกลือต่ำจะมีเกลือในเหงื่อและปัสสาวะน้อยกว่าผู้อื่น เพราะร่างกายปรับตัวและหยุดขับถ่ายโซเดี่ยมได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นผู้ที่เสียเหงื่อมาก ๆ ไม่ว่าเพราะอากาศร้อนหรือออกกำลังกายก็ตาม ควรดื่มน้ำมาก ๆ เพราะน้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่สุด ไม่ควรทดแทนด้วยการกินเกลือเพิ่ม

ร่างกายของคนเราในวัยผู้ใหญ่ ควรได้รับโซเดียมในประมาณไม่ต่ำกว่า วันละ 0.23 กรัม (230 มิลลิกรัม) ซึ่งมีอยู่ในเกลือ 0.57 กรัม หรือประมาณ 1 ใน 10 ของ 1 ช้อน เด็กไม่สามารถขับถ่ายโซเดียมได้ดีเท่ากับผู้ใหญ่ จึงเสี่ยงต่อการมีโซเดี่ยมสะสมในร่างกายมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ (Dehydration) ได้อย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรเติมเกลือในอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป สำหรับทารกนั้นต้องปฏิบัติตามประกาศของกระทรวงสาธษรณสุขอย่างเคร่งครัด และต้องไม่มีการเติมเกลือหรือสารประกอบโซเดี่ยมใด ๆ เลย

ผู้ใหญ่ ต้องการเกลือแต่ก็ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น เพราะร่างกายไม่สามารถทนร้อนรับเกลือในปริมาณมาก ๆ ได้ การบริโภคเกลือมากเกินจะทำให้ร่างกายขับถ่ายแคลเซียมมากขึ้น จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน อาหารหลายชนิดมีเกลือ “ซ่อนเร้น” อยู่เสมอ เช่น ขนมปัง ธัญพืชพร้อมบริโภค และขนมกรุบกรอบทั้งหลาย วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยลดการบริโภคเกลือลงคือ พยามยามใช้เกลือ(น้ำปลาหรือซีอิ้ว) ให้น้อยลงในการประกอบอาหารหรือเหยาะใส่เวลากิน ยกตัวอย่างน้ำต้มผัก เราไม่จำเป็นต้องเติมเกลืออีก เพราะจะไปลดความหวานตามธรรมชาติของผักได้

แหล่งที่มา https://www.scimath.org/article-biology/item/505-sodium-salt

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1
Hits 451 ครั้ง