เสาไฟฟ้า 1 ต้น มีสายอะไรพาดผ่านบ้าง ?

วันที่เผยแพร่: 
Wed 9 March 2022

   เสาไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการรองรับการติดตั้งสายไฟให้อยู่เหนือพื้นดิน ด้วยวิธีติดตั้งถ้วยยึดจับสายไฟฟ้า สำหรับเหตุผลที่ทำให้ต้องมีการพาดสายไฟไว้เหนือพื้นดินสูง ๆ ก็เนื่องจากว่าสายไฟฟ้าโดยทั่วไปนั้นเป็นสายเปลือยที่มีอันตรายต่อผู้ที่ไปสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ และถ้าหากเกิดความผิดปกติขึ้นก็จะส่งผลกระทบอื่นๆ  อีกมากมาย

   ในส่วนของเสาไฟฟ้าก็ต้องมีความแข็งแรงและมั่นคงระดับหนึ่ง อีกทั้งควรจะต้องรองรับน้้ำหนักได้ดีและไม่หักโค่นง่าย ในอดีตนั้น เสาไฟฟ้ายุคแรก ๆ ทำด้วยไม้ แต่เมื่อไม้เริ่มหายาก และไม่สามารถใช้งานได้นาน จึงมีการเปลี่ยนวัสดุเป็นเสาคอนกรีตแทน ในส่วนนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของประเทศไทยก็ได้เห็นด้วยและมีการเปลี่ยนเสาไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศเป็นเสาคอนกรีตแล้ว แต่อาจจะยังหลงเหลือในพื้นที่ชนบทห่างไกลบ้างเล็กน้อย ซึ่งก็จะมีการเปลี่ยนเป็นเสาคอนกรีตทั้งหมดในอนาคต (และในปัจจุบันนี้ ก็เริ่มมีเป็นเสาอะลูมิเนียมมาติดตั้งในบางพื้นที่แล้ว)

   บนถนนสายหลักจะติดตั้งเสาไฟฟ้า 4 ขนาด คือ เสาสูง 22 เมตร, สูง 12 เมตร, 10 เมตร และ 8.50 เมตร สำหรับในซอยส่วนมากจะเป็นขนาด 12 เมตร และ 8.50 เมตร.

- สำหรับเสาไฟฟ้าที่สูง 12 เมตร นั้นบนสุดจะเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง 22,000 โวลต์ สายไฟนี้เข้าใกล้ไม่ได้จึงติดตั้งให้อยู่สูงจากพื้นดิน ประมาณ 10 เมตร

- รองมาความสูงจากพื้นในระดับ 8 เมตร นั้นเป็นสายไฟฟ้าแรงต่ำ 230 หรือ 400 โวลต์ คือสายไฟที่ต่อโยงไว้จ่ายไฟเข้าบ้านเรือนประชาชนทั่วไป

- และความสูงจากพื้นในระดับ 5-5.50 เมตร ที่เห็นเป็นสายหลายๆ เส้นขดกันจำนวนมากนั้นคือ สายสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งประกอบด้วย
1. สายออพติกไฟเบอร์ คือสายอินเทอร์เน็ต
2. สายเคเบิลโทรศัพท์
3. สายเคเบิลทีวี
4. สายควบคุมสัญญาณจราจร
5. สายสื่อสารกล้องวงจรปิด เป็นต้น ซึ่งจะพาดสายอยู่ในระดับเดียวกัน

 

แหล่งที่มา
https://www.mea.or.th/content/detail/82/3131/6454

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2-1-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87
เจ้าของข้อมูล: 
การไฟฟ้านครหลวง
Hits 730 ครั้ง