งานวิจัยชี้ 'เชื้อชาติ' อาจเป็นปัจจัยหนึ่งของโรคปากเเหว่งเพดานโหว่

วันที่เผยแพร่: 
Thu 3 January 2019

ในประเทศร่ำรวย ทารกที่คลอดออกมาพร้อมอาการปากแหว่งเพดานโหว่จะได้รับการผ่าตัดรักษา นายแพทย์ Albert Oh เป็นศัลยเเพทย์ตกแต่งที่ผ่าตัดรักษาอาการปากแหว่งเพดานโหว่เเก่ทารกที่โรงพยาบาลเด็กแห่งชาติ (Children's National Medical Center) ในกรุงวอชิงตัน

นายเเพทย์ โอ กล่าวว่า ตนเองกับเพื่อนร่วมงานทำการผ่าตัดรักษาทารกเฉลี่ยต่อปีทั้งหมดที่ 100 กว่าราย ซึ่งคิดเป็นสัปดาห์ละ 1 ถึง 2 คน

ในสหรัฐฯ ราว 1 ในทารกทุก 1,500 คนที่เกิดมาพร้อมกับอาการปากแหว่งเพดานโหว่ เชื้อชาติก็มีส่่วนในเรื่องนี้ด้วย ทารกที่มีเชื้อสายของคนแอฟริกันมีโอกาสน้อยที่สุด โดยอยู่ที่ราว 1 คนต่อทุก 1,200 คน

นายแพทย์ Yang Chai แห่งมหาวิทยาลัย Southern California พบว่าความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมมีส่วนทำให้เกิดอาการบกพร่องนี้ร้อยละ 30 ของทั้งหมด เขากล่าวว่า ชาวเอเชียมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเป็นโรคปากเเหว่ง และหากดูจำนวนประชากรผู้ป่วยทั่วโลกเเล้ว จะพบว่าชาวเอเชียมีโอกาสเป็นโรคนี้ที่ราว 1 คน ต่อ 700 คน

​เด็กเหล่านี้มักมีผลกระทบทางจิตใจจากความบกพร่องนี้ เพราะกระทบต่อลักษณะหน้าตา เเต่อาการแทรกซ้อนจากปากเเหว่งเพดานโหว่รุนแรงกว่าเเค่หน้าตาเท่านั้น เด็กจะมีปัญหาการพูด ปัญหาทางทันตกรรม เเละอื่นๆ

ทารกที่เพดานโหว่จะไม่สามารถดูดนมได้ ส่งผลต่อการเจริญเติบโต เด็กจะดูตัวเล็กกว่าอายุจริง

บรรดาหน่วยงานการกุศล อาทิ Operation Smile จัดหาการผ่าตัดทำศัลยกรรมตกแต่งเพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องนี้ นายแพทย์ William Magee ผู้ก่อตั้ง กล่าวว่า หน่วยงานของเขาได้ขยายงานที่ทำออกไป โดย 80 เปอร์เซ็นต์ของอาสาสมัครมาจาก 70 หรือ 80 ชาติทั่วโลก และเป็นไปได้ว่าการผ่าตัด 70 - 80% เป็นผลงานของแพทย์ท้องถิ่นในประเทศนั้นๆ ที่ทางหน่วยงานเข้าไปสอนความรู้ทางเทคนิคเเก่เเพทย์ท้องถิ่น

ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งชี้ว่า หน่วยงานการกุศลต่างๆ ยังคงให้บริการผ่าตัดรักษาอาการปากแหว่งเพดานโหว่มากกว่าร้อยละ 80 ของทั้งหมดในเวียดนาม และในหลายๆ ประเทศรายได้น้อย ต้องมีการจ่ายค่าผ่าตัดล่วงหน้าเเละครอบครัวจำนวนมากไม่มีเงินจ่ายค่าผ่าตัด

นายแพทย์ Magee กล่าวว่า หน่วยงานการกุศลของเขาพยายามเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ ปัญหานี้ช่วยให้ทางหน่วยงานเข้าใจถึงความสำคัญของความพร้อมด้านระบบการบริการการผ่าตัด เเละจะทำอย่างไรให้ปรับปรุงการบริการด้านนี้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ขณะที่พันธุกรรมและสุขภาพของมารดามีส่วนทำให้เกิดความบกพร่องนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังกำลังพยายามค้นหาสาเหตุอื่นๆ อยู่ ด้วยความหวังว่าวันหนึ่งในอนาคตจะสามารถป้องกันทารกจากอาการปากแหว่งเพดานโหว่ได้

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88
Hits 386 ครั้ง