สังเกตเมฆ

วันที่เผยแพร่: 
Sun 15 April 2018

ลายคนคงคุ้นเคยกับการมองก้อนเมฆ ที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปต่าง ๆ นานา และเราก็ยังสังเกตบรรดาก้อนเมฆอันอ่อนนุ่มนั้น  ด้วยการดูสีของเมฆ ที่ลอยรวมตัวกันอยู่บนท้องฟ้า  ว่าเป็นอย่างไร 

เมฆเกิดจากอะไร

        ก่อนอื่นต้องรู้จักที่ไปที่มาของก้อนเมฆที่เราเห็นอยู่บนท้องฟ้ากันก่อน น้ำจากแหล่งธรรมชาติบนพื้นดิน เป็นจุดเริ่มต้นของมวลเมฆขนาดใหญ่  เมื่อได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ก็จะระเหยกลายเป็นไอน้ำลอยอยู่บนอากาศ และเมื่อไอน้ำเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ำหรือเกล็ดน้ำแข็ง การเกาะตัวเป็นกลุ่มในลักษณะแบบนี้ เราเรียกมันว่า เมฆ 

7574 1

ภาพที่ 1 ก้อนเมฆบนท้องฟ้า
ที่มา : Sipa https://pixabay.com/th

 สีและลักษณะของก้อนเมฆ

          เคยสังเกตไหมว่า ทำไมเมื่อเรามองไปบนท้องฟ้า กลุ่มเมฆที่ล่องลอยอยู่ในอากาศมีสีสันแตกต่างกันไป ก็เนื่องจากว่าความหนาแน่นของกลุ่มไอน้ำหรือเมฆบริเวณนั้น ว่ามีความหนาแน่นมากน้อยเพียงใด ถ้าหนาแน่นมาก แสงผ่านไม่ได้ จะมองเห็นเป็นกลุ่มสีเทาไปจนถึงสีดำ ถ้าหนาแน่นน้อย เราจะมองเห็นเมฆเหล่านั้นเป็นสีขาว  สีของเมฆสามารถสื่อสารหรือบ่งบอกให้เราทราบได้ว่า มีปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศ หรือสภาพทางอากาศที่กำลังจะเกิดขึ้น  เช่น เมฆที่มีสีเขียว หรือสีเทาเกือบดำ นั้นบ่งบอกถึงการก่อตัวของพายุฝน  หรือเมฆสีแดงส้มในช่วงพระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตก จากการกระเจิงของแสงในชั้นบรรยากาศ

           เมฆสามารถแบ่งตามรูปร่างลักษณะและระดับความสูงเหนือพื้นดินของฐานเมฆ โดยทั่ว ๆ ไปดังนี้

                   เมฆชั้นต่ำ               เหนือพื้นดินไม่เกิน 2 กิโลเมตร ไม่มีน้ำแข็งมีแต่ไอน้ำ แต่เมื่อใดที่ไอน้ำรวมกลุ่มกันมีความหนาแน่นจำนวนมาก ก็จะตกลงมาเป็นฝน

                   เมฆชั้นกลาง           สูงตั้งแต่ 2-6 กิโลเมตร มี เมื่อมีความหนาแน่นของน้ำแข็งและไอน้ำรวมกันจำนวนมาก ก็จะตกลงมาเป็นฝน 

                   เมฆชั้นสูง               สูงตั้งแต่ 6 กิโลเมตร ขึ้นไป  ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำแข็ง เพราะความสูงระดับนั้นอากาศจะเย็นจัดต่ำกว่าจุดเยื่อกแข็ง

7541 2

         เราคงพอสังเกตก้อนเมฆที่ลอยอยู่บนท้องฟ้ากันได้บ้างแล้ว ว่าเมฆชนิดไหนทำให้เกิดฝนพรำหรือทำฝนตกหนัก ฉะนั้นก่อนออกจากบ้านครั้งต่อไปก็อย่าลืมพยากรณ์อากาศกันเสียหน่อย จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับฝนฟ้าในแต่ละวันได้ทันเวลา

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%86
เจ้าของข้อมูล: 
http://www.scimath.org/article-science/item/7574-2017-10-17-02-04-19
Hits 1,530 ครั้ง