th th en Hypnic Jerks (อาการนอนกระตุก)

วันที่เผยแพร่: 
Wed 31 October 2018

วันนี้จะพาไปทำความรู้จักกับอาการที่ผมเชื่อเลยว่าหลายๆคน ต้องเคยสัมผัสและเคยเป็นกันมาทุกคน ซึ่งบางคนก็อาจจะรู้ตัวจนทำให้ถึงขั้นตื่นนอน หรือบางคนอาจจะไม่รู้สึกตัวเลยก็ได้

อาการกระตุกขณะนอนหลับ (Hypnic Jerks) หรือบางครั้งก็เรียกว่าอาการเหมือนตกจากที่สูง ซึ่งในบางคนอาจจะมีการกระตุกรุนแรงถึงขั้น ฟาดแขน ฟาดขา หรืออาจจะกระตุกทั้งตัว ทำให้มีผลต่อการนอนหลับได้ ในทางการแพทย์มักจะเรียกกลุ่มอาการนี้ว่า Hypnic เป็นการกระตุกแบบ myoclonic ซึ่งเป็นการกระตุกของกล้ามเนื้อในร่างกายที่สามารถเกิดได้ในคนทั่วไป เช่น การสะอึกหรือการกระตุกของแขน ขา ตอนนอนหลับ โดยสามารถสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น ความเครียด, วิตกกังวล, การอดนอน หรือจากโรคบางชนิด เช่น หลอดเลือดสมอง โรคไต แต่ในทางการแพทย์ ก็สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ในอีกแง่มุม จากงานศึกษาหลายชิ้นเชื่อว่า เกิดจากการที่ร่างกายกำลังเข้าสู่ช่วงหลับลึก กล้ามเนื้อเริ่มคลายตัวพร้อมๆกัน การหายใจเริ่มช้าลง แต่สมองกลับสับสนโดยคิดว่า ร่างกายกำลังอ่อนแรง ทั้งขา แขน ทำให้ไม่สามารถ ยืนหรือนั่งได้ปกติ จึงสั่งให้กลไกของร่างกายทำการป้องกันตัว คือ ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวและกระตุกอย่างรวดเร็ว ในบางครั้งสมองจึงสร้างความรู้สึกคล้ายกับอาการของการตกจากที่สูงนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่มีคนพูดถึงเกี่ยวกับทฤษฎีของอาการ Hypnic jerks ว่าเป็นระบบการป้องกันตัว ซึ่งคนได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่มีร่วมกันกับลิงและใช้เป็นกลไกในการป้องตัว ในตอนที่อาศัยอยู่บนต้นไม้เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายขณะนอนหลับ

ซึ่งอาการ Hypnic jerks นั้นก็สามารถเกิดได้ในคนทุกเพศ ทุกวัย ไม่ใช่อาการผิดปกติแต่อย่างใด แต่ถ้าเกิดใครที่มีอาการของ Hypnic jerks บ่อยครั้งจนมีผลต่อการนอนหลับก็ควรปรึกษาแพทย์เพราะอาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้

แหล่งอ้างอิง :

https://sleep.org/articles/hypnic-jerks/
http://www.medscape.org/viewarticle/515809
http://www.nosleeplessnights.com/the-hypnic-jerk-jolted-awake-when-falli...
https://sleephabits.net/hypnic-jerk

เรียบเรียงโดย นายตามพงศ์ เหลืองบริบูรณ์

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/th-th-en-hypnic-jerks-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81
Hits 412 ครั้ง
หมวดหมู่ OECD: