อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”

วันที่เผยแพร่: 
Tue 20 July 2021

วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2367 เป็นวันคล้ายวันเกิดของ William Thomson, 1st Baron Kelvin นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ ผู้พัฒนาระบบอุณหภูมิสัมบูรณ์ (absolute temperature) ที่ใช้แพร่หลายในแวดวงวิทยาศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน โดยชื่อเคลวิน (K) ถูกตั้งเป็นหน่วยวัดอุณหภูมิในระบบเอสไอ (SI units) เราสามารถแปลงอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียสให้เป็นอุณหภูมิในหน่วยเคลวินได้จากสมการ [K = °C + 273.15]

เคลวินยังมีผลงานที่สำคัญมากมายทางด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ สาขาไฟฟ้า และ อุณหพลศาสตร์
อายุ 23 ปี Thomson และ James Prescott Joule ร่วมมือกันทำงานได้ค้นพบปรากฏการณ์ Joule–Thomson และยังพบอีกว่า ที่อุณหภูมิ -273.15 องศาเซลเซียส สรรพสิ่งจะอยู่ในสภาพนิ่ง คือ ไร้การเคลื่อนที่ใดๆ
อายุ 30 ปี ได้ทำงานร่วมกับ Rudolf Clausius ได้ตั้งกฎข้อที่ 2 ของวิชาอุณหพลศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรความร้อน และได้ศึกษาปริศนาอายุของโลกโดยใช้ทฤษฎีการนำความร้อนของ Fourier (Jean Baptiste Joseph Fourier)
อายุ 42 ปี ได้พัฒนาเทคนิคการวัดขนาดของอะตอม สร้างกัลวาโนมิเตอร์แบบใช้กระจก และได้จดลิขสิทธิ์อุปกรณ์นี้ อีกทั้งยังเป็นผู้รับผิดชอบโครงการวางสายเคเบิลโทรศัพท์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วย ซึ่งผลงานนี้เองที่ทำให้ได้รับการโปรดเกล้าเป็น “Sir”
อายุ 68 ปี ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น Baron Kelvin of Largs และเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกของอังกฤษที่ได้ตำแหน่ง Lord เพื่อเป็นเกียรติแก่ผลงานของเขา โดยนำชื่อมาจากแม่น้ำเคลวินที่ไหลผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ในสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร
Kelvin เสียชีวิตเมื่ออายุ 83 ปี ศพถูกนำไปฝังใน London เคียงข้าง Isaac Newton

แหล่งที่มา https://www.scimath.org/article-physics/item/12345-2021-06-28-02-47-43

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2-%E2%80%9C%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E2%80%9D
Hits 413 ครั้ง