คุณค่าโภชนาการจากกล้วยน้ำว้า

วันที่เผยแพร่: 
Tue 31 August 2021

เมื่อเอ่ยถึงกล้วยน้ำว้าทุกคนก็คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี และเคยรับประทานกันมาแล้วทั้งนั้น กล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยที่มีอยู่คู่กับคนเรามานานตั้งแต่โบราณ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ จึงมีชื่อเรียกตามแต่ละท้องถิ่นมากมาย เช่น กล้วยนาก กล้วยหอมจันทร์ กล้วยมะลิอ่อง กล้วยสะกุย กล้วยเจก กล้วยแลหก และคงจะมีชื่อเรียกอีกเป็นชื่อพื้นเมืองต่าง ๆ กล้วยน้ำว้ามีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อหลายพันปีมาแล้ว และแพร่พันธุ์กันมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งแจจุบันเป็นกล้วยที่ปลูกกันตามบ้านทั่ว ๆ ไป

กล้วยน้ำว้า เป็นไม้ล้มลุกขนาดใหญ่ มีความสูงตั้งแต่ 2 – 9 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่าเหง้า ส่วนที่โผล่ขึ้นมาเหนือดินแท้จริงไม่ใช่ลำต้นเป็นเพียงส่วนของก้านใบมีลักษณะที่เรียกว่ากาบห่อหุ้มเรียงสลับอัดกันแน่นดูคล้ายกับลำต้น ส่วนใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบใหญ่ มีสีเขียว เรียกว่าใบตอง

ผลของกล้วยน้ำว้าขณะที่ยังดิบอยู่เนื้อกล้วยจะแข็งมีรสฝาด เนื้อมีสีขาว ยังไม่มีกลิ่นหอมของกล้วย เปลือกของผลดิบแข็ง มีสีเขียวเข้ม ปอกยาก แต่เมื่อตัดจากลำต้นแล้วประมาณ 10 วัน เปลือกจะมีสีเหลืองตลอดลูก ตกกระเป็นจุด ๆ มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน มีรสหวาน เปลือกปอกได้ง่าย ผลกล้วยสุกเรานำมาทำอาหารได้กลายอย่าง เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยตาก กล้วยบวชชี กล้วยแขก กล้วยปิ้ง รับประทานเป็นยาระบายอ่อน ๆ เป็นอาหารเสริมสำหรับทารก

คุณค่าทางอาหารของกล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าเป็นพันธุ์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนทั้งลำต้น ใบ ดอก ผล โดยเฉพาะผลกล้วยน้ำว้าที่สุกแล้ว มีสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายหลายชนิด

แหล่งที่มา https://www.scimath.org/article-biology/item/516-cultivated-banana

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%B2
Hits 531 ครั้ง