จาก “โรคระบาด” สู่ “โรคประจำถิ่น”

วันที่เผยแพร่: 
Tue 29 March 2022

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดให้ความเห็นว่า โรคโควิด 19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นอีกไม่นานนี้ แต่คนทั่วไปยังคงสับสนกับคำว่า “โรคประจำถิ่น” หรือ Endemic  

   แล้ว “โรคระบาด” หรือ Epidemic หมายความว่าอย่างไร คำอธิบายที่ตรงไปตรงมาที่สุดก็คือ โรคที่มีจำนวนผู้ป่วยในชุมชนมีมากผิดปกติหรือคาดไม่ถึง โดยเป็นโรคที่สามารถก่อให้เกิดอาการป่วยจนถึงเสียชีวิต มีการติดต่อระหว่างคนสู่คน และมีการแพร่ระบาดลุกลามไปทั่วโลก ทั้งนี้โรคระบาดขึ้นอยู่กับการติดเชื้อและความรุนแรงของโรคที่แสดงออกจากภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขทั่วโลก ดังที่เราเห็นได้จากโรคโควิด 19 นั่นเอง

  ในกรณีโรคโควิด 19  ในช่วงต้นของการระบาดคือการแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็วและมีศักยภาพ ทั้งนี้ในช่วงแรกของการแพร่ระบาด ประชาชนทั่วไปยังขาดภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้การแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรุนแรงและรวดเร็ว   

จาก “โรคระบาด” สู่ “โรคประจำถิ่น”
   เมื่อการระบาดถึงขีดสุด ขณะที่ภูมิคุ้มกันของประชากรเพิ่มขึ้น ทั้งจากวัคซีนรวมถึงการติดเชื้อตามธรรมชาติ ความสามารถในการแพร่เชื้อของเชื้อโรคโควิด 19 ก็ลดน้อยลง ซึ่งนอกจากภูมิคุ้มกันดังกล่าวแล้ว การลดความสามารถของเชื้อไวรัสโรคโควิด 19 ในการแพร่กระจาย เช่น การจัดการระยะห่างทางสังคม การสวมหน้ากากอนามัย และการรักษาสุขอนามัย เช่น การล้างมือที่ดีขึ้น ก็ทำให้การแพร่ระบาดของเชื้อโรคลดลงด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ ทำให้ลดความสามารถในการทำให้เกิดโรคโควิด 19 ของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) นั่นหมายความว่าหากมนุษยชาติโชคดี ในช่วงเวลาอีกไม่นานนี้ ไวรัสซาร์ส-โควี-2 ก็จะส่งผลให้การเกิดโรคมีความรุนแรงน้อยลง ส่งผลให้โรคระบาดที่คาดเดาไม่ได้ มีอัตราการแพร่ระบาดที่เป็นภัยคุกคามต่อประชากรน้อยลงและคาดการณ์ได้มากขึ้น หากเทียบกับตอนต้นของการแพร่ระบาด การคาดการณ์ได้ของโรคระบาดนี้ นำไปสู่ “การจัดการโรคระบาดได้” นั่นคือ การที่เราทุกคนบนโลก เริ่มอยู่ร่วมกับไวรัสซาร์ส-โควี-2 และนี่คือความหมายของ การเป็นโรคประจำถิ่น เฉกเช่นเดียวกับ โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ หรือแม้แต่ โรคเอดส์   

“โรคประจำถิ่น” ไม่ได้หมายถึงการย่ามใจในการใช้ชีวิตประจำวัน   
   การพูดถึง “โรคประจำถิ่น” มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับมุมมองการใช้ชีวิตประจำวันในทางปฏิบัติ เพราะความเป็น “โรคประจำถิ่น” จะไม่ได้หมายความว่า เราจะละทิ้งการป้องกันสุขอนามัยส่วนบุคคลที่เราเคยทำ หรือ ไม่ได้หมายความว่า เราจะยอมจำนนต่อเชื้อโรคโควิด 19 แต่อย่างใด สิ่งที่เรายังต้องทำอยู่ต่อเนื่องถึงแม้โรคโควิด 19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นแล้วก็ตาม ก็คือ การจัดการระยะห่างทางสังคม การสวมหน้ากากอนามัย และการรักษาสุขอนามัย เช่น การล้างมือ

   ที่สำคัญ โรคที่ถือว่าเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว ไม่ได้ หมายความว่าโรคนั้นไม่รุนแรงอีกต่อไป แต่มันหมายความถึงโรคนั้นยังคงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราทุกคน เราไม่ได้เพิกเฉยต่อไวรัสซาร์ส-โควี-2 แต่เราต้องปรับเปลี่ยนวิธีในการตอบสนองต่อเชื้อโรคด้วยการป้องกันทุกคนจากโรค เช่นเดียวกับที่เราปฏิบัติกับโรคอื่น ๆ    

แหล่งที่มา
https://www.nsm.or.th/other-service/664-online-science/knowledge-invento...

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E2%80%9C%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E2%80%9D-%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88-%E2%80%9C%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E2%80%9D
Hits 270 ครั้ง