ฝันร้ายกับสุขภาพ

ฝันร้าย สัญญาณร่างกายกับปัญหาสุขภาพ

          ฝันร้าย คือ ภาวะจากการนอนหลับฝันที่ทำให้รู้สึกวิตกกังวล ระทึก หรือหวาดกลัวอย่างรุนแรง มักเกิดขึ้นเมื่อใกล้ตื่น ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เกิดความเครียดมักฝันร้าย ทั้งนี้ หากฝันร้ายเป็นประจำและส่งผลต่อการดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ ภาวะดังกล่าวอาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพได้
          อุบัติการณ์ฝันร้ายผิดปกติ (
nightmare disorder) พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย พบความถี่สูงในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ร้อยละเฉลี่ย 1.5 - 1 ขณะที่ช่วงอายุ ลักษณะทางวัฒนธรรมไม่พบความแตกต่างกันในเนื้อหาของลักษณะความฝัน ฝันร้ายผิดปกติเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และมีประมาณร้อยละ 2 - 6 ฝันร้ายผิดปกติเกิดขึ้นทุกสัปดาห์
          ฝันร้ายผิดปกติ จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลดังกล่าวเผชิญเหตุการณ์ที่ทำให้ตกใจกลัวรุนแรง ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิตเวช อาทิ เช่น โรคซึมเศร้า ปัญหาบุคลิกภาพผิดปกติ ผู้ที่ได้รับยาบางประเภทที่ออกฤทธิ์กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสาร norepinephrine, serotonin, dopamine เป็นต้น ซึ่งสารเคมีดังกล่าวมานี้ล้วนเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวชทั้งสิ้น

ลักษณะฝันร้ายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอาการป่วย

          - จดจำรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ในฝันได้อย่างชัดเจน

          - มักฝันถึงเรื่องเดิมซ้ำๆ รวมทั้งมักฝันถึงเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกหวาดกลัวเป็นอย่างมาก โดยฝันนั้นมักเกี่ยวกับการเอาตัวรอด ความปลอดภัย หรือความมั่นคงของชีวิต และมักเกิดขึ้นตอนงีบหลับสั้น ๆ

          - รู้สึกตื่นตัวและมักตื่นขึ้นมาอยู่เสมอ

          - รู้สึกไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต ทำกิจกรรม หรือสังสรรค์เข้าสังคม

ผลที่มีต่อสุขภาพ

          ฝันร้ายจะเป็นมากกว่าฝันร้ายเมื่อมันเริ่มมีผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ ในกลุ่มผู้ที่มีปัญหานอนฝันร้ายนั้น ผู้ที่มีอาการวิตกกังวล หรือซึมเศร้า มีแนวโน้มมากที่มีความเครียดอันเกิดจากประสบการณ์และทนทุกข์กับความป่วยทางจิตมากกว่า แม้จะยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างแน่ชัด แต่ฝันร้ายก็อาจมีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตาย เนื่องจากฝันร้ายอาจมีผลกระทบกับคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก จึงสำคัญที่จะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหากคุณฝันร้ายอยู่เป็นประจำ

          การนอนหลับไม่พอเพียงเนื่องจากฝันร้าย อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอื่นตามมา เช่น โรคหัวใจ, ซึมเศร้า และโรคอ้วน

          หากฝันร้ายเกิดจากอาการหยุดหายใจเป็นพัก ๆ ระหว่างนอนหลับ หรือความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ และปล่อยเอาไว้ไม่รักษา สาเหตุเบื้องหลังเหล่านี้อาจนำไปสู่ผลลบอย่างรุนแรงทั้งต่อสุขภาพของร่างกายและสุขภาพจิต

          Norepinephrine คือ สารที่ทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทระหว่างเส้นประสาท ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนตอบสนองต่อภาวะเครียดเมื่อสมองรับรู้ว่ามีเหตุการณร้ายแรงเกิดขึ้น

          Serotonin คือ สารสื่อประสาทและเป็นฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานในหลายๆ ส่วนของร่างกาย ทั้งด้านการควบคุมอารมณ์ การย่อยอาหาร ความรู้สึกอยากหรือเบื่ออาหาร รวมไปถึง การนอนหลับ และยังมีความเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวชหลายโรค

          Dopamine คือ เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยส่งสัญญาณภายในสมอง มีบทบาทหลักเกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนไหว และยังเกี่ยวข้องกับกระบวนการให้รางวัลของสมอง การมีระดับ dopamine ที่สูงหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ dopamine ในสมองอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติอื่นเช่นโรคจิตเภท

วันที่: 
Tue 27 August 2019
แหล่งที่มา: 
https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1248, https://health.kapook.com/view49984.html, https://www.honestdocs.co
Hits 809 ครั้ง