Boron
โบรอน (boron) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ B โบรอนปรากฏมากในแร่บอแรกซ์
โบรอนคืออะไร โบรอนในภาษาอารบิก เรียก Buraq หมายถึงสีขาว และภาษาเปอร์เซีย เรียกว่า Burah พบบันทึกว่ามีการนำโบรอนมาใช้ประโยชน์ ทั้งชาวบาบิโลนชาวอาหรับ และชาวจีน ในจีนนำมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 300 โดยใช้ประโยชน์เป็นน้ำยาเคลือบเงา จากนั้น ค.ศ. 700 มีการขนส่งโบรอนไปสู่เปอร์เซีย และ Jābir ibn Hayyān นักเคมีชาวเปอร์เซีย ก็ทำให้โบรอนได้เป็นที่รู้จักในแถบนั้น ต่อมา Marco Polo ได้ซื้อน้ำยาเคลือบเงาจากโบรอนนี้กลับไปที่อิตาลี ซึ่งต่อมา ในปี ค.ศ. 1808 Joseph Louis Gay-Lussac และ Louis Jacques Thénard นักเคมีวิทยาชาวฝรั่งเศส ได้ทำการสกัดโบรอนออกมาจากกรดบอริก โดยทำปฏิกิริยากับแมกนีเซียมหรือโซเดียม เวลาต่อมา Sir Humphry Davy นักเคมีชาวอังกฤษ พยายามแยกธาตุโบรอน โดยวิธี electrolysis แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งเขาก็สามารถแยกโบรอนได้โดยการนำกรดบอริกไปทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนในอากาศ และตั้งชื่อสารที่ได้ว่า boracium แต่มีความบริสุทธิ์เพียง 60% จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1909 Ezekiel Weintraub นักเคมีชาวอเมริกัน สามารถผลิตโบรอนที่บริสุทธิ์ได้ถึง 99%
ธาตุโบรอน สามารถอยู่ในรูปของสารประกอบได้หลายชนิด เช่น
● Sodium borate pentahydrate (Na2B4O7·5H2O) ใช้ในการผลิตฉนวนกันความร้อนใยแก้ว
● กรดบอริค (boric acid, H3BO3) ใช้ในการผลิตสิ่งทอไฟเบอร์กลาส และใช้เป็นฉนวนเซลลูโลสกันไฟ
● Sodium borate decahydrate (Na2B4O7·10H2O) หรือบอแรกซ์ ใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อที่ไม่รุนแรง
โบรอนที่ใช้เป็นปุ๋ยสำหรับพืช มีได้หลายรูปแบบ เช่น กรดบอริก, Sodium borate หรือ Sodium calcium borate โบรอนเคลื่อนที่ในพืชผ่านทางท่อน้ำ (xylem) การเคลื่อนย้ายธาตุโบรอนจึงเป็นไปตามอัตราการคายน้ำของใบ
แหล่งที่มา : https://www.cpiagrotech.com/knowledge-049/

- 277 reads