'หมึกบลูริง' คืออะไร? ทำไมมีพิษร้ายแรงกว่างูเห่า 20 เท่า!

1. "หมึกบลูริง" เป็นหมึกยักษ์ที่ตัวเล็กแค่ 4 เซนติเมตร
2. จุดเด่นคือวงกลม "สีน้ำเงิน" ทั่วตัว
3. หมึกบลูริง ในไทยมีกี่สายพันธุ์?ปัจจุบันทั่วโลกพบว่ามี หมึกบลูริง ทั้งหมดประมาณ 4 ชนิดสําหรับในประเทศไทยมีรายงานการพบหมึกสายวงน้ำเงิน สกุล Hapalochlaena maculosa ในบริเวณน่านน้ำไทย ทั้งทางฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย
4. พิษร้ายแรงมากกว่างูเห่า 20 เท่า
5. พิษร้าย "เตโตรโดท็อกซิน" อยู่ที่น้ำลายหมึก
6. พิษรุนแรงกว่าไซยาไนด์ 1,200 เท่า (สารเคมี)
7. พิษหมึกบลูริง ทนความร้อนได้ถึง 200 °C
8. หากโดนพิษ มีความเสี่ยงเสียชีวิต 50% - 60%
9. อาการของเหยื่อ เมื่อโดนพิษหมึกบลูริง อาการ "ชา" บริเวณริมฝีปาก ลิ้น ต่อมาจะชาบริเวณใบหน้า แขน ขา ต่อมาอาจมีอาการน้ําลายไหล คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการท้องเสียร่วมกับปวดท้อง กล้ามเนื้อจะเริ่มทํางานผิดปกติ ในผู้ป่วยที่ได้รับพิษปริมาณมาก พิษจะเข้าไปทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้หายใจไม่ออกเนื่องจากกล้ามเนื้อกะบังลมและหน้าอกไม่ทํางาน จึงไม่สามารถนําอากาศเข้าสู่ปอดได้ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 4-6 ชั่วโมง แต่บางเคสมีรายงานพบว่าเสียชีวิตอย่างรวดเร็วเพียง 20 นาทีเท่านั้น
10. ต้องหาวิธีนําอากาศเข้าสู่ปอด เช่น เป่าปาก ฯลฯ จากนั้นต้องรีบนําส่งแพทย์โดยด่วน เพื่อใช้เครื่องช่วยหายใจ ถ้าการช่วยชีวิตเป็นผล ผู้ป่วยจะฟื้นเป็นปกติภายใน 24 ชั่วโมง เว้นแต่ว่าจะขาดอากาศนานเกินไปจนทําให้ "สมองตาย"10. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

วันที่: 
Fri 30 April 2021
แหล่งที่มา: 
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910263
Hits 1,612 ครั้ง