7 สัตว์มหัศจรรย์ ใต้ท้องทะเลอันดามัน ตอน ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า (Blue tang)

ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า หรือชื่อที่นิยมเรียกกันในวงการปลาสวยงามว่า ปลาบลูแทง (อังกฤษ: blue tang, regal tang, palette surgeonfish, royal blue tang, hippo tang, flagtail surgeonfish, blue surgeonfish, Pacific regal blue tang) เป็นปลาทะเลที่อาศัยตามแนวปะการังที่มีสีสันสดใส จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม จัดอยู่ในวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด (Acanthuridae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล Paracanthurus
ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้ามีลำตัวสีน้ำเงินเข้ม หางสีเหลือง มีลายสีดำคล้ายจานสี ปลาที่มีลำตัวส่วนล่างเป็นสีเหลืองพบในตะวันตกจนถึงกลางมหาสมุทรอินเดีย[3] มีลำตัวยาว 31 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตลอดภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก อย่างตามแนวปะการังในแอฟริกาตะวันออก, ประเทศญี่ปุ่น, ประเทศซามัว, นิวแคลิโดเนีย และเกรตแบร์ริเออร์รีฟ
ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้ายังไม่ได้รับการประเมินสถานะการอนุรักษ์โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN)
ในตู้เลี้ยง ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้าได้รับความนิยมไม่ใช่เฉพาะแค่ความสวยงาม แต่ยังสามารถกำจัดตะไคร่น้ำประเภทต่าง ๆ ที่ขึ้นในตู้ (ซึ่งทำให้แลดูสกปรกและอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของปะการัง) ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เนื่องจากเป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหารหลัก และในธรรมชาติ ถือเป็นปลาที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง นีโม...ปลาเล็ก หัวใจโต๊...โต ในปี พ.ศ. 2546 (รวมถึงภาคต่อ คือ ผจญภัยดอรี่ขี้ลืม ในปี พ.ศ. 2559) ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้าเป็นตัวละครตัวหนึ่งชื่อ ดอรี่ (เสียงพากย์โดย เอลเลน ดีเจนเนอเรส) เป็นปลาเพศเมียที่ออกตามหานีโม่ ลูกปลาการ์ตูนส้มขาว ลูกชายของมาร์ลิน ปลาการ์ตูนส้มขาวที่เป็นตัวละครเอกของเรื่องด้วย
ระบบนิเวศ คือกลุ่มอินทรีย์ (พืช สัตว์และจุลินทรีย์) ร่วมกับองค์ประกอบอชีวนะของสิ่งแวดล้อมของพวกมัน (เช่น อากาศ น้ำและดินอนินทรีย์) ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นระบบ[1] ถือว่า ส่วนประกอบชีวนะและอชีวนะเชื่อมกันผ่านวัฏจักรสารอาหารและการถ่ายทอดพลังงาน[2] ระบบนิเวศนิยามเป็นเครือข่ายปฏิสัมพันธ์ระหว่างอินทรีย์ด้วยกันและระหว่างอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม[3] ระบบนิเวศมีขนาดเท่าใดก็ได้ แต่ปกติครอบคลุมพื้นที่เฉพาะจำกัด[4] แม้นักวิทยาศาสตร์บางส่วนกล่าวว่า ทั้งโลกก็เป็นระบบนิเวศหนึ่งด้วย

พลังงาน น้ำ ไนโตรเจนและดินอนินทรีย์เป็นอีกส่วนประกอบอชีวนะของระบบนิเวศ พลังงานซึ่งถ่ายทอดผ่านระบบนิเวศได้มาจากดวงอาทิตย์เป็นหลัก โดยทั่วไปเข้าสู่ระบบผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งกระบวนการนี้ยังจับคาร์บอนจากบรรยากาศด้วย สัตว์มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนของสสารและพลังงานผ่านระบบนิเวศ โดยการกินพืชและสัตว์อื่น นอกจากนี้ สัตว์ยังมีอิทธิพลต่อปริมาณพืชและชีวมวลจุลินทรีย์ที่มีอยู่ ตัวสลายสารอินทรีย์ปลดปล่อยคาร์บอนกลับสู่บรรยากาศและเอื้อการเกิดวัฏจักรสารอาหารโดยการแปลงสารอาหารที่สะสมอยู่ในชีวมวลตายกลับสู่รูปที่พร้อมถูกพืชและจุลินทรีย์อื่นใช้ โดยการย่อยสลายสารอินทรีย์ตาย[6] ในธรรมชาติแล้วมีสาร 60 ชนิด ในจำนวน 96 ชนิด หมุนเวียนผ่านเข้าไปในอินทรีย์

ระบบนิเวศมีทั้งปัจจัยภายนอกและภายในควบคุม ปัจจัยภายนอก เช่น ภูมิอากาศ วัสดุกำเนิด (parent material) ซึ่งสร้างดินและภูมิลักษณ์ ควบคุมโครงสร้างโดยรวมของระบบนิเวศและวิธีที่สิ่งต่าง ๆ เกิดในนั้น แต่ปัจจัยดังกล่าวไม่ได้รับอิทธิพลจากระบบนิเวศ ปัจจัยภายนอกอื่นรวมเวลาและชีวชาติศักยะ (potential biota) ระบบนิเวศเป็นสิ่งพลวัต คือ อยู่ภายใต้การรบกวนเป็นระยะและอยู่ในกระบวนการฟื้นตัวจากการรบกวนในอดีตบางอย่าง ระบบนิเวศในสิ่งแวดล้อมคล้ายกันที่ตั้งอยู่ในส่วนของโลกต่างกันสามารถมีลักษณะต่างกันมากเพราะมีชนิดต่างกัน การนำชนิดต่างถิ่นเข้ามาสามารถทำให้เกิดการเลื่อนอย่างสำคัญในการทำหน้าที่ของระบบนิเวศ ปัจจัยภายในไม่เพียงควบคุมกระบวนการของระบบนิเวศ แต่ยังถูกระบบนิเวศควบคุมและมักอยู่ภายใต้วงวนป้อนกลับ (feedback loop) เช่นกัน ขณะที่ทรัพยากรป้อนเข้าปกติถูกกระบวนการภายนอก เช่น ภูมิอากาศและวัสดุกำเนิด ควบคุม แต่การมีทรัพยากรเหล่านี้ในระบบนิเวศถูกปัจจัยภายใน เช่น การผุสลายตัว การแข่งขันรากหรือการเกิดร่ม ควบคุม ปัจจัยภายในอื่นมีการรบกวน การสืบทอด (succession) และประเภทของชนิดที่มี แม้มนุษย์อยู่ในและก่อให้เกิดผลภายในระบบนิเวศ แต่ผลลัพธ์รวมใหญ่พอมีอิทธิพลต่อปัจจัยภายนอกอย่างภูมิอากาศ

วันที่: 
Thu 29 November 2018
QR Code for https://www.stkc.go.th/info/7-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2-blue-tang
แหล่งที่มา: 
https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า,https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบนิเวศ
Hits 3,973 ครั้ง