การเทียบปีศักราช จดไว้เลย ออกสอบบ่อย ได้ใช้แน่

การเทียบปีศักราช จดไว้เลย ออกสอบบ่อย ได้ใช้แน่
:
การเรียนประวัติศาสตร์ให้เข้าใจต้องรู้จักการนับศักราช เพราะแต่ละยุค แต่ละภูมิภาคใช้ระบบที่ต่างกันนั่นเอง วันนี้มาสรุปแบบง่าย ๆ กันเถอะ
1. พุทธศักราช (พ.ศ.) – ไทยใช้หลักจากปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน (พ.ศ. 1)
2. คริสต์ศักราช (ค.ศ.) – นับจากปีประสูติของพระเยซู (ค.ศ. 1)
3. มหาศักราช (ม.ศ.) – อินเดียใช้ เริ่มจาก ค.ศ. 78 (เทียบ พ.ศ. +621)
4. จุลศักราช (จ.ศ.) – พม่าใช้ ไทยเคยใช้ เริ่มจาก พ.ศ. 1181 (เทียบ พ.ศ. -1181)
5. รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) – ไทยใช้ช่วงหนึ่ง นับจากการสถาปนากรุง (พ.ศ. 2325 = ร.ศ. 1)
6. ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) – อิสลามใช้ นับจากปีที่ศาสดามูฮัมหมัดอพยพ (เทียบ พ.ศ. -1122)
:
เทคนิคจำง่ายๆ การแปลง พ.ศ. เป็น ค.ศ.
พ.ศ. → ค.ศ. = -543
ค.ศ. → พ.ศ. = +543
:
ในประเทศไทย รัชกาลที่ 6 โปรดให้ใช้ พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชประจำชาติ แทน รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เพื่อให้สอดคล้องกับประเทศพุทธศาสนา
- ประกาศใช้เมื่อ 21 ก.พ. ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2455)
- เปลี่ยนมาใช้ พ.ศ. อย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 เม.ย. 2456
:
รู้ไว้ได้ใช้แน่ ทั้งในห้องสอบและชีวิตประจำวัน หากเพื่อน ๆ จำทั้งหมดไม่ได้ ขอให้จำ พ.ศ. และ ค.ศ. เนื่องจากพบเจอได้บ่อยในชีวิตประจำวันด้วยนั้นเองครับ
:
#STKC

วันที่: 
Fri 28 March 2025
แหล่งที่มา: 
https://www.dek-d.com/teentrends/66246
Hits 351 ครั้ง
หมวดหมู่ OECD: