กระทรวงวิทย์ฯ จับมือ สมาคมเครื่องจักรกลไทย พลิกโฉมเทคโนโลยีใหม่ เครื่องจักรฝีมือคนไทย ไทยทำไทยใช้ สอดรับนโยบายThailand 4.0 พร้อมโชว์ผลงานตัวอย่าง

ข่าวประจำวันที่: 
Thu 15 June 2017

กระทรวงวิทย์ฯ จับมือ สมาคมเครื่องจักรกลไทย พลิกโฉมเทคโนโลยีใหม่ เครื่องจักรฝีมือคนไทย ไทยทำไทยใช้ สอดรับนโยบายThailand 4.0 พร้อมโชว์ผลงานตัวอย่าง

          รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย นายปฐม สวรรค์เลิศปัญญา รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายประสาร บุนฑารักษ์ เลขาธิการสมาคมเครื่องจักรกลไทย ร่วมแถลงข่าว "ความร่วมมือการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบภายใต้โครงการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า" ภายใต้การดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสมาคมเครื่องจักรกลไทย สนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้พัฒนาสร้างเครื่องจักร อุปกรณ์ที่เหมาะสมจากฝีมือคนไทยเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ลดการนำเข้า พัฒนาองค์ความรู้บุคลากรไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานวิศวกรรมไทยให้ก้าวไปอีกขั้นโดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นผลงานของคนไทย

 

 A23Y5694 A23Y5750 

 

          ซึ่งงานแถลงข่าวในครั้งนี้ รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและการพัฒนาอันไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยี นอกจากจะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว ยังผลักดันให้เกิดการแข่งขันในภาคการผลิตของประเทศต่างๆ ให้สูงขึ้นตามไปด้วย ความอยู่รอดของอุตสาหกรรมไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆ มีความสำคัญมากต่ออุตสาหกรรมไทย เพราะเครื่องจักรอุปกรณ์เป็นหัวใจของการผลิตสามารถใช้แก้ปัญหาการผลิต ทดแทนแรงงานฝีมือที่ขาดแคลนในปัจจุบัน ลดต้นทุนการผลิตนอกจากนี้ ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศมูลค่ามหาศาล ดังนั้น เพื่อให้สามารถลดการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ และพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว ตลอดจนช่วยเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรไทยทางด้านเทคโนโลยี การสนับสนุนให้คนในประเทศพัฒนาเทคโนโลยีการสร้างเครื่องจักรอุปกรณ์ขึ้นได้เองจึงมีความจำเป็น โดยเฉพาะยุทธศาสตร์การดูดซับเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่แฝงอยู่ในเครื่องจักรอุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศมาสู่ประเทศไทยโดยผ่านทางบุคลากรไทยด้วยกระบวนการวิศวกรรมย้อนรอยอย่างสร้างสรรค์ (Innovative Reverse Engineering) หรือที่เรียกว่าวิศวกรรมย้อยรอย อันเป็นกระบวนการสร้างคุณค่าทางวิศวกรรมให้เกิดเป็นเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์ และมีความเหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯในฐานะหน่วยงานรัฐได้ดำเนินงานโครงการในลักษณะดังกล่าวรับกับภาคเอกชนไทยมาอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันมีนโยบายเน้นการพัฒนาสร้างเครื่องจักรที่สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศเพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0”

 

A23Y5816 A23Y5726

 

          นายปฐม สวรรค์เลิศปัญญา รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวด้วยว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) โดยสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ริเริ่มโครงการดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2546 ปัจจุบันมีผู้ประกอบการไทยที่เข้าร่วมโครงการสามารถพัฒนาสร้างเครื่องจักรใช้ในเชิงพาณิชย์กว่า 150 โครงการการดำเนินงานเป็นการบูรณาการ 3 ภาคส่วนประกอบด้วยวท. ในฐานะหน่วยงานภาครัฐจะเป็นแหล่งทุนกำกับนโยบายสนับสนุนงบไม่เกิน 50%  มีกลไกที่ปรึกษาทางวิชาการเป็นหน่วยบริหารจัดการโครงการ เช่น สถาบันไทยเยอรมัน สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานในสังกัด วท. และภาคเอกชนไทยที่ร่วมโครงการร่วมลงทุนไม่น้อยกว่า 50% มีตัวอย่างผลสำเร็จหลายโครงการที่เข้าสู่กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและสร้างรายได้เข้าประเทศ ทั้งนี้ ในปี 2560 เราได้ร่วมพัฒนาเครื่องจักรกับสมาคมอีก 6โครงการ โดยเน้นเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ที่ทันสมัยอำนวนความสะดวก และมีระบบออโตเมติก เช่น กลไกกายภาพบำบัดแบบเคลื่อนที่ได้ ,ระบบลิฟต์เคลื่อนย้ายผู้สูงอายุสำหรับบ้านพักรองรับสังคมผู้สูงอายุของไทยและต่อเนื่องไปยังความเป็นศูนย์กลางการให้การพำนักรักษาผู้ป่วยหรือ Medical Hub ของภูมิภาค,เครื่องฉีดพลาสติกขนาดเล็ก,เครื่องอบแห้งปั้มความร้อนประหยัดพลังงาน,ตู้พลังงานแสงอาทิตย์อเนกประสงค์,เครื่องแยกแก้วบรรจุภัณฑ์ความเร็วสูง 

 

A23Y5635 A23Y5549
A23Y5488 A23Y5469 
A23Y5905 A23Y5459
A23Y5520 A23Y5613
A23Y5574 A23Y5496 

 

          ทั้งนี้ หน่วยงานต่างๆของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ยังมีโครงการหรือนโยบายรองรับในการให้สิทธิประโยชน์หรือแรงจูงใจสนับสนุนเพื่อต่อยอดธุรกิจและอุตสาหกรรม เช่น โครงการคูปองนวัตกรรม,โครงการภาษี 300%การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม,โครงการบัญชีนวัตกรรม เป็นต้น

 

URL: 
http://www.most.go.th/main/th/news/executive-news/item/6511-mostpr2560614
แหล่งที่มา: 
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี