ถอดสูท ถกเศรษฐกิจ ดร.อรรชกา โชว์ผลงาน วทน. เพื่อเศรษฐกิจชาติ

ข่าวประจำวันที่: 
Tue 8 August 2017

ถอดสูท ถกเศรษฐกิจ ดร.อรรชกา โชว์ผลงาน วทน. เพื่อเศรษฐกิจชาติ

๑๗๐๘๐๘ 0010

 

            8 สิงหาคม 2560 ณ ห้อง 801 ชั้น อาคารจามจุรี 10 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในเรื่อง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเศรษฐกิจชาติ ภายในงานเสวนาวิชาการ "ถอดสูท ถกเศรษฐกิจ" โดยสมาคมเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

            ดร.อรรชกา สีบุญเรือง กล่าวว่า ในอดีตประเทศไทยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจด้วยทรัพยากร วัตถุดิบ และปัจจัยการผลิตต่างๆ ซึ่งเป็นยุคที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนอะไรมากนัก จากนั้น เมื่อความต้องการสินค้าต่างๆ มีมากขึ้น การส่งออกกลายเป็นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เราจึงเข้าสู่ยุคที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยประสิทธิภาพ หรือเป็นเศรษฐกิจฐานอุตสาหกรรม ที่เป็นการผลิตสินค้าทีละมากๆ เพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก ประเทศไทยเคยเจริญเติบโตได้ดีด้วยเศรษฐกิจฐานอุตสาหกรรม แต่มาวันนี้เราไม่สามารถที่จะเติบโตได้มากอย่างที่เราเคยเป็นได้อีกแล้ว หรือที่เรียกว่าเราติดกับดักรายได้ปานกลางซึ่งการที่จะหลุดพ้นจากกับดักนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิรูปประเทศให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

 

งานถอดสท ถกเศรษฐกจ ๑๗๐๘๐๘ 0009  งานถอดสท ถกเศรษฐกจ ๑๗๐๘๐๘ 0007

 

            ดร.อรรชกา กล่าวต่อไปว่า โครงการที่กระทรวงวิทย์ฯ พยายามที่จะช่วยสนับสนุนให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ลดความเลื่อมล้ำ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน และทำให้ประเทศมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจมีดังต่อไปนี้

 

 การสนับสนุนให้เกิดสังคมผู้ประกอบการกระทรวงวิทย์ฯ ได้ทำการสนับสนุนการเพิ่มจำนวนของ Startups และ SME ที่ใช้เทคโนโลยีในการประกอบธุรกิจ เราได้สร้างมาตรการสนับสนุนต่างๆ มากมาย เช่น การจัดงาน Startup Thailand เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว การสนับสนุนมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อพัฒนานักเรียน นักศึกษาให้สามารถก้าวมาเป็นผู้ประกอบการได้การจัดตั้ง ย่านนวัตกรรม เพื่อเป็นแหล่งให้เกิดการพบปะระหว่างผู้ประกอบธุรกิจ Startups นักลงทุน หรือผู้ที่สนใจ เพื่อการต่อยอดทางธุรกิจ

 

งานถอดสท ถกเศรษฐกจ ๑๗๐๘๐๘ 0008

 

‐ การพัฒนาเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม โดยเรามุ่งเน้นการพัฒนา Platform สำหรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเกิดการปรับตัวและนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาใช้เพื่อก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 อีกทั้งสนับสนุนให้เกิดการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงหรือการพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

‐ Smart Agriculture: เราสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้น จากนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ เรามีโครงการมากมาย เช่น คลินิกเทคโนโลยี หมู่บ้านแม่ข่าย InnoAgri ที่นำเทคโนโลยีไปช่วยเกษตรกร โดยที่ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร จากการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ ลดการสูญเสียผลผลิตจากภัยธรรมชาติ อีกทัง้ เรายังมีการวิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ ซึ่งตั้งเป้าว่าจะสามารถเป็นศูนย์เมล็ดพันธุ์ของภูมิภาคอาเซียนได้

 

งานถอดสท ถกเศรษฐกจ ๑๗๐๘๐๘ 0012  งานถอดสท ถกเศรษฐกจ ๑๗๐๘๐๘ 0013

 

‐ การจัดตั้งเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษสำหรับนวัตกรรมกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ ทั้งในกรุงเทพและภูมิภาคต่างๆ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและภาคส่วนต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมนักวิจัย วัสดุ อุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อการทำวิจัยเพื่อตอบสนองกับความต้องการของพื้นที่ อีกทั้งเรายังมีโครงการ Food Innopolis ที่เน้นการทำวิจัยด้านอาหาร และ EECi ที่จัดตั้งให้เป็นเขตวิจัยและนวัตกรรมของโครงการ EEC โดยมุ่งเน้นด้าน AI, Robotics, IoT, Bio Fuel, Bio Chem และ Bio Material โดยโครงการเหล่านี้จะช่วยกระจายงานทางด้าน R&D ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งตรงตามวิสัยทัศน์ที่ต้องการกระจายโอกาสสู่ภูมิภาคและประชาชนอย่างทั่วถึง

 

งานถอดสท ถกเศรษฐกจ ๑๗๐๘๐๘ 0011  งานถอดสท ถกเศรษฐกจ ๑๗๐๘๐๘ 0006

 

‐Bio Economy: จากการที่ไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งของประเทศประการหนึ่ง ดังนั้น การสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาทางด้าน Bio Economy นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยเสริมสร้างจุดแข็งของประเทศ ดังนั้น เราจึงสนับสนุนการการสร้างอุตสาหกรรมใหม่บนพื้นฐานของ Bio refinery และ Bio pharma ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างโอกาสใหม่ให้กับประเทศแล้วยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตผลทางการเกษตรของเราได้อีกด้วย

 

‐ Digital Economy: ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ และ smart phone เข้ามามีบทบาทสำคัญ เราสามารถนำเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสารนีม้ าช่วยสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเราสนับสนุนให้ประชากรเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างเท่าเทียม นอกจากนี้เทคโนโลยี Digital ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจและ SME อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีฐานที่ช่วยให้เทคโนโลยีอื่นสามารถพัฒนาได้

 

URL: 
http://www.most.go.th/main/th/news/executive-news/item/6652-0808600
แหล่งที่มา: 
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี