นายกฯ ชมผลงานสตาร์อัพ Deep Tech ด้าน Health Tech
18 ธันวาคม 2561 ณ ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ - ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ชมตัวอย่างผลงานกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ Deep Tech โดยเฉพาะด้าน Health Tech ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่มีความซับซ้อนในการสร้างผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเอง ลอกเลียนแบบได้ยาก ตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0 ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
โดยมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้การต้อนรับพร้อมด้วยผู้บริหารหน่วยงานในสังกัด และกลุ่มผู้ประกอบการ Health Tech เพื่อนำเสนอผลงานที่สร้างโอกาสด้วยนวัตกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันในท้องตลาดหนุนเศรษฐกิจและสังคมระดับมหภาค เตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21
สำหรับผลงานที่นำเสนอประกอบด้วย 1. ผลิตภัณฑ์นาโน@สยาม เป็นผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์นาโนคอมโพสิตสูตรน้ำ สำหรับพ่นเคลือบ กันเชื้อโรค ของบริษัท ไพรม์ นาโนเทคโนโลยี จำกัด 2. โครงการต่อยอดโนว์ฮาวทันตวัสดุแบบสหศาสตร์สู่ภาคอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์วัสดุสำหรับการเคลือบหลุมร่องฟันและอุดฟัน บริษัท ดีแอนด์เอ็น จำกัด 3. นวัตกรรมเจิร์มการ์ดวัสดุการแพทย์ ผลิตภัณฑ์ GERMGARD คือวัสดุปิดแผลแบบโฟม มีคุณสมบัติในการดูดซับดีกว่าแผ่นปิดแผลแบบเดิม อีกทั้งยังสามารถรักษาประสิทธิภาพ ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและรับแรงกดทับได้ดี ของบริษัท อินโนเวทีฟ ฟิลเทรชั่น เทคโนโลยี (ไอเอฟที) จากัด 4. ผลิตภัณฑ์ Meticuly กระดูกเทียมตอบสนองศัลยกรรมกระดูกส่วนบุคคลและการดูแลสุขภาพทางการผ่าตัด ผลิตด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3D ไททาเนียม ด้วยการออกแบบโครงสร้างทางกายวิภาคที่ไม่เหมือนใคร เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการฝังรักษาทางการแพทย์ ของบริษัท Meticuly จำกัด 5. Skin Cancer Screening on Mobile อุปกรณ์ตรวจมะเร็งผิวหนัง Melanoma ของบริษัท Sertis จำกัด
6. โครงการหุ่นยนต์ถือกล้องผ่าตัด ผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์ถือกล้องผ่าตัด Laparoscope Manipulating Robot ของบริษัท ซีที เอเซีย โรโบติกส์ จากัด 7. โครงการดีเอ็นเอชิพสำหรับตรวจคัดกรองเชื้อจุลชีพก่อโรคในอาหาร ผลิตภัณฑ์ Food-checked array เป็นแผ่นดีเอ็นเอชิพตรวจวัดเชื้อปนเปื้อนในอาหาร สามารถตรวจจาแนกแบคทีเรีย 7 สายพันธุ์หลักได้พร้อมกัน ครอบคลุมตามมาตรฐานการตรวจรับรองของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ลดเวลาในการตรวจเหลือเพียง 3 ชั่วโมง จากเดิมที่ใช้เวลา 3-5 วัน มีความแม่นยำและความจำเพาะเทียบเท่าเทคนิคมาตรฐานเดิมของบริษัท เซโนสติกส์ จากัด และ
8. เครื่องลดอุณหภูมิอากาศด้วยเทคนิคการระเหยน้ำเย็น เป็นเครื่องปรับอากาศด้วยลมเย็นชนิดใช้ระบบอีแวป (Evaporative Cooling System) ที่มีน้าหล่อเย็นแผง cooling pad และ ใช้พัดลมดูดเอาความเย็นบริเวณแผ่น cooling pad ไปใช้งาน (E-plus) โดยมีมินิคอมเพรสเซอร์และอินเวอร์เตอร์คอนโทรล รวมกับระบบโอโซนทาความสะอาด และระบบฆ่าเชื้อ (RCI) จากสหรัฐอเมริกา สามารถลดอุณหภูมิได้ 25-28 องศาเซลเซียส ของบริษัท ไททัม จำกัด