"ปักหมุด...จุดชมวิทย์" ฉบับที่ 117 (ประจำสัปดาห์ที่ 20 - 26 ก.ย. 64)

ข่าวประจำวันที่: 
Mon 20 September 2021

สอ.กอก. ขอแนะนำ "ปักหมุด...จุดชมวิทย์" ฉบับที่ 117 (ประจำสัปดาห์ที่ 20 - 26 ก.ย. 64) เนื่องจากอยู่ในมาตรการการควบคุมโรคโควิด-19 ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้กลับมาเปิดให้บริการในรูปแบบวิถีใหม่ (New Normal) ประชาชนทุกคนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ในรูปแบบต่าง ๆ โดยปฏิบัติตามขั้นตอนการเฝ้าระวังของแต่ละสถานที่ ในสัปดาห์นี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้

ขอเชิญชมเสวนาวิชาการซีรีส์กรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในตอน “จีน - ไทยใช่ใครอื่น พลวัตชาวจีนในกรุงศรีอยุธยา” โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ วิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา) จัดเสวนาวิชาการขึ้นโดยได้รับเกียรติจาก ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว. เข้าร่วมเปิดงานและฟังบรรยาย จากผู้เข้าร่วมเสวนาทั้ง 3 ท่าน ประกอบไปด้วย
- อ.ภูมิ ภูติมหาตมะ คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร
- ดร.พิภู บุษบก คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
- รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล
ติดตามได้ทาง Facebook Live : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ในวันที่ 20 กันยายน 2564 ตั้งแต่เวลา 13:30 – 16:30 น.
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/MHESIThailand

ขอเชิญชวนผู้ประกอบการหน้าใหม่และผู้ที่สนใจในการทำธุรกิจ ติดตามชมรายการ TED Fund Talk ในตอน “ศักยภาพและโอกาสการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์” โดยกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ TED Fund พบกับแขกรับเชิญทั้ง 3 ท่าน ประกอบไปด้วย
- คุณเลิศลักษณ์ ลีลาอมรสิน วิศวกรอาวุโสด้านปัญญาประดิษฐ์ บริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด / ผู้พัฒนาหุ่นยนต์สัญชาติไทย รองรับความต้องการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจอนาคต
- รศ.ดร.บุญเสริม แก้วกำเหนิดพงษ์ Founder บริษัท โรบอท เฟรนด์ จำกัด / ผู้พัฒนาโครงการหุ่นยนต์ BLISS ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้เด็กออทิสติก
- คุณสัมฤทธิ์ บำรุงสุข Founder บริษัท พี ที ดับบลิว เทคโนโลยี จำกัด / ผู้พัฒนาโครงการหุ่นยนต์บริการสำหรับรับ-ส่งตัวอย่างทดลอง
เข้าถึงได้ทุกที่กับการไลฟ์สดผ่านทางเพจ TED Fund
ในวันที่ 21 กันยายน 2564 ตั้งแต่เวลา 14:00 น. เป็นต้นไป
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/tedfund.most.th

ขอเชิญชมปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ประจำเดือนกันยายน “วันศารทวิษุวัต” โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NARIT วัน “ศารทวิษุวัต” (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) เวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน คำว่า “Equinox” มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Aequus แปลว่า เท่ากัน และ Nox แปลว่า กลางคืน ดังนั้น Equinox หมายถึงวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ซึ่งตรงกับคำว่า “วิษุวัต” แปลว่า "จุดราตรีเสมอภาค” ในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ตำแหน่งที่ต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา ดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนที่จากจุดเหนือสุดลงมาทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกและตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี
ในวันที่ 23 กันยายน 2564 ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 6:07 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:13 น. (เวลา ณ กรุงเทพมหานคร) นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.148308931899396/455751856431...

ท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร พร้อมอัพเดททุกความเคลื่อนไหวและกิจกรรมต่าง ๆ ของ อว.
ได้ทาง www.mhesi.go.th หรือเข้าไปกด Like facebook และกดติดตาม twitter : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แค่นี้ก็ไม่พลาดกิจกรรมดี ๆ แล้วค่ะ