พายุใหญ่สีแดงแห่งดาวพฤหัสฯในระยะใกล้

ข่าวประจำวันที่: 
Fri 14 July 2017

พายุใหญ่สีแดงแห่งดาวพฤหัสฯในระยะใกล้

          ยานอวกาศจูโนได้ใช้กล้องถ่ายรูปเก็บภาพพายุสีแดงขนาดใหญ่ ขณะบินเข้าใกล้ (Flyby)จุดแดงใหญ่ที่ระยะห่างเพียง 9,000 กิโลเมตรเมื่อวันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม ที่เพิ่งผ่านมานี้ 

 

 

          พายุดังกล่าวมีชื่อว่า จุดแดงใหญ่(Great Red Spot) ซึ่งนักดาราศาสตร์พบเห็นมันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1830 แล้ว ผ่านมาร่วม 350 ปีจนถึงวันนี้พายุลูกนี้ก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่ แต่ด้วยขนาดที่เล็กลงเรื่อยๆ

 

          ความกว้างของจุดแดงใหญ่ที่วัดค่าในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2017  คือ 16,350 กิโลเมตรซึ่งใหญ่กว่าโลกถึง 1.3 เท่า!

 

          ขณะที่ยานอวกาศจูโนเข้าใกล้ดาวพฤหัสฯนอกจากจะเก็บภาพจุดแดงใหญ่แล้ว ยังทำการเก็บข้อมูลเมฆชั้นบนของดาวพฤหัสฯและแสงออโรราเพื่อนำมาวิเคราะห์หากำเนิดและโครงสร้างภายในของดาวพฤหัสฯโดยละเอียดด้วย

 

          การโคจรเข้าใกล้ดาวพฤหัสจะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2017

 

          รอลุ้นกันอีกทีว่าจะมีอะไรมาให้เราได้ตื่นเต้นกันอีก

 

URL: 
http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/3020-juuno-jupiter-great-red-spot
แหล่งที่มา: 
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.)