มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2564

ข่าวประจำวันที่: 
Mon 1 November 2021

 

ชื่องาน มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564
แนวความคิด “ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Art – Science – Innovation and Creative Economy)”
รูปแบบจัดแสดง HYBRID Event (On ground and Online Platform) 
ในรูปแบบใหม่ “Virtual Science Fair” ใน 2 ช่องทาง 

1. On Ground Platform จัดแสดงระหว่างวันที่ 9 – 19 พฤศจิกายน 2564 ณ อาคาร 9-12 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี หลากหลายความรู้ ความสนุกสนาน กับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จำกัดผู้เข้าชมงานในแต่ละรอบ ตามมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดูรายละเอียดและลงทะเบียนจองสิทธิ์เข้าชมงานล่วงหน้า ได้ที่ www.thailandnstfair.com /”>https://www.nsm.or.th 2. Online Platform เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป ทางแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ > Virtual Exhibition นิทรรศการเสมือน ที่จะนำทุกท่านเสมือนเข้าชมงานจริง จัดเต็มกับความรู้ ความสนุกสนาน ของ 9 นิทรรศการหลักของงาน ได้แก่ นิทรรศการเทิดพระเกียรติ (Royal Pavilion) นิทรรศการหมื่นจินตนาการ ล้านความรู้ (Science Fiction Fun & Knowledge) นิทรรศการโครงร่างสร้างเรื่อง (Skeleton) นิทรรศการหนึ่งเรียบง่าย หลายคุณอนันต์ (Simple Machine) นิทรรศการดินแดนผักและผลไม้ (Fruit and Veggie Land) นิทรรศการโลกดิจิทัลไร้พรมแดนกับเทคโนโลยี 5G (Experience the Limitless Life with 5G) นิทรรศการภารกิจข้ามดวงดาว (Space Odyssey) นิทรรศการ Maker Space : สู่นวัตกรรมเพื่ออนาคต (Maker Space: Make the Future) นิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติ “จากท้องนทีสู่ห้วงสมุทร: สายน้ำกับสายสัมพันธ์ของชีวิต” (International Photo Exhibition on “River and Ocean: Connecting Water to Life”) เปิดให้เข้าชมพร้อมร่วมกิจกรรมออนไลน์มากมายที่ www.thailandnstfair.com > Online Activities กิจกรรมออนไลน์ พบกับการ LIVE รับชมสดกับการแนะนำนิทรรศการในงาน และกิจกรรมต่างๆ ตลอดการจัดงาน ที่ www.facebook.com/nstfairTH หน่วยงานร่วมจัดแสดง รวม 58 หน่วยงาน

  • หน่วยงานสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 24 หน่วยงาน
  •  ภาครัฐ จำนวน 16 หน่วยงาน
  •  ภาคเอกชน จำนวน 7 หน่วยงาน
  •  มูลนิธิ สภาสมาคม สมาคม จำนวน 5 หน่วยงาน
  •  ต่างประเทศ จำนวน 6 หน่วยงาน

จัดงานโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินงานโดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็น “พระราชบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ”

ในปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ในเวลานั้น) ได้จัด “งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม 2527 โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ จนได้รับความสนใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ทำให้คณะรัฐมนตรีเล็งเห็นความสำคัญ และเมื่อวันที่
3 กันยายน 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ในเวลานั้น) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งภาครัฐและเอกชนจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช “พระราชบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” โดยดำเนินการจัดงาน “สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ” เป็นประจำทุกปี

นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรีกำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปีเป็น “วันเทคโนโลยีของไทย” เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”

ต่อมา การจัดงาน “สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ในส่วนกลาง ที่กรุงเทพมหานคร ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน เป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีการเพิ่มเติมกิจกรรม รูปแบบการจัดงาน ให้มีความยิ่งใหญ่และได้รับความสนใจจากนักเรียน เยาวชน และประชาชนทั่วไปเข้าชมงานเป็นจำนวนมาก ดังนั้นนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ในเวลานั้น) โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จึงได้จัดงาน “สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ในส่วนกลาง ที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้ชื่อว่า มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564

กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปี เพื่อการเฉลิมฉลองในโอกาสวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในวันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นโอกาสสําคัญในการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ในฐานะ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะ “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”

ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Art – Science – Innovation and Creative Economy)” มีแนวทางการดำเนินงานทางวิชาการ ตามนโยบายที่สำคัญ ดังนี้

  • ความคิดสร้างสรรค์ทาง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผสานกับศิลปะในมุมของการขับเคลื่อน พัฒนา “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” (Creative Economy) ของประเทศ
  • แนวทางพระราชดําริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • นโยบาย “BCG Model : Bio – Circular – Green Economy” ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก ได้แก่ Bio Economy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพเพื่อมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า โดยเชื่อมโยงกับ Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการนําวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด และภายใต้ Green Economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน
  • กระบวนการ และเป้าหมายการพัฒนาประเทศเข้าสู่ Thailand 4.0
  • นําเสนอเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในประเด็นปัจจุบันของโลก อาทิเช่น เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals (SDG), ปีสากลแห่งพืชผัก และผลไม้ (IYFV, International Year of Fruits and Vegetables)

วัตถุประสงค์

1.เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
2. เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
“พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”
3. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศและนานาชาติ โดยเฉพาะผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของประเทศ
4. เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป
5. เพื่อกระตุ้นความสนใจและสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการนําวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนประเทศ พัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มมูลค่าผลผลิตและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
6. เพื่อสร้างเวทีสําหรับเยาวชนและนักศึกษา ได้มีส่วนร่วมในการแสดงออกทาง ความคิดและการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ เตรียมพร้อมสู่การเป็นนักเทคโนโลยีและนวัตกรรมรุ่นใหม่ของประเทศในอนาคต
7. เพื่อเปิดเวทีแห่งการเรียนรู้ สําหรับประชาชนทั่วไปในการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

วันเวลา และสถานที่จัดงาน

1. On Ground Platform

วันที่ 9 – 19 พฤศจิกายน 2564
ณ อาคาร 9 – 12 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค
เมืองทองธานี

2. Online Platform

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป
ทางแพลตฟอร์มออนไลน์เว็ปไซต์ www.thailandnstfair.com
และเฟสบุ๊ค www.facebook.com/nstfairTH

แหล่งที่มา: 
http://thailandnstfair.com/2021/aboutnstfair-th/