ยานอวกาศแคสสินีพบที่ว่างมหาศาล (The Big Empty) ระหว่างดาวเสาร์และวงแหวน

ข่าวประจำวันที่: 
Mon 22 May 2017

ยานอวกาศแคสสินีพบที่ว่างมหาศาล (The Big Empty) ระหว่างดาวเสาร์และวงแหวน

 

          หลังจากยานอวกาศแคสสินีเดินทางเข้าสู่วงโคจรสุดท้ายของดาวเสาร์ที่เรียกว่า Grand Finale Orbits ซึ่งข้อมูลที่นักดาราศาสตร์ได้กลับมาในครั้งนี้สร้างความประหลาดใจเกินคาดกว่าที่คิด

 

ภาพที่ 1  ภาพจำลองยานแคสสินีปรับทิศทางของจานรับส่งสัญญาณเพื่อเป็นโล่ป้องกันอนุภาคขนาดเล็ก

ขณะทำภารกิจเข้าสู่วงโคจรสุดท้ายของดาวเสาร์ Grand Finale Orbits 

 

          Earl Maize นักวิทยาศาสตร์หนึ่งในทีมผู้ดูแลภารกิจยานอวกาศแคสสินี กล่าวว่า “บริเวณระหว่างดาวเสาร์กับวงแหวนของมันดูเหมือนจะเป็นพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ (The Big empty) และนักวิทยาศาสตร์จะพยายามศึกษาต่อไปว่าทำไม บริเวณแห่งนี้จึงมีระดับฝุ่นต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

 

ภาพที่ 2 Earl Maize นักวิทยาศาสตร์หนึ่งในทีมผู้ควบคุมดูแลภารกิจการสำรวจในครั้งนี้ขณะเฝ้ารอสัญญาณที่ส่งมาจากยานอวกาศแคสสินี เมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2017

 

          เนื่องจากนักดาราศาสตร์เชื่อว่าบริเวณระนาบวงแหวนของดาวเสาร์น่าจะมีอนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากในระดับอนุภาคที่ประกอบเป็นควันอยู่  ซึ่งอาจเข้าปะทะกับยานจนเกิดความเสียหายได้วิศกรจึงปรับทิศทางของจานรับส่งสัญญาณขนาด 4 เมตร หันเข้าหาทิศฝุ่นอุนภาคเหล่านั้นคล้ายกับเกราะป้องกันตัวยาน และมีอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ยื่นออกไปนอกตัวแผงจานซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องตรวจวัดสนามแม่เหล็ก(magnetometer)และเครื่องตรวจจับฝุ่น RPWS (Radio and Plasma Wave Science) ด้วยข้อมูลจากเครื่อง RPWS พบว่า มีการชนของอนุภาคเหล่านั้นน้อยมากซึ่งน้อยกว่าที่ไว้

 

          ในอดีตเครื่องตรวจจับ RPWS สามารถตรวจจับการชนของอนุภาคจำนวนนับร้อยภายในวงโคจรแบบ Ring Grazing นักดาราศาสตร์ได้แปลงข้อมูลการตรวจจับดังกล่าวอยู่ในรูปแบบเสียงสัญญาณดังแสดงในวีดีโอที่ 1 และ ภาพที่ 3

 

วีดีโอที่ 1 https://www.youtube.com/watch?v=XITah0sxFFQ

 

ภาพที่ 3 แสดงข้อมูลสัญญาณเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ.2016 (ภาพบน) 

และสัญญาณที่ตรวจพบเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ.2017 (ภาพล่าง)

อนุเคราะห์ภาพโดย : NASA / JPL-Caltech / University of Iowa

 

          เนื่องจากบริเวณนี้แทบไม่มีฝุ่นอยู่เลยทำให้ปราศจากอันตรายที่เกิดกับยาน การปรับจานรับสัญญาณเป็นโล่เพื่อป้องกันอันตรายในระหว่างภารกิจสุดท้ายทำให้เราได้ข้อมูลน้อยแต่ข้อมูลการตรวจวัดในครั้งนี้เราสามารถปรับเปลี่ยนแผนวิธีการสำรวจตลอดจนมีเวลาในการสังเกตการณ์เพิ่มมากขึ้น

 

          นอกจากยานอวกาศแคสสินีได้จับภาพขณะดำดิ่งผ่านช่องว่างระหว่างดาวเสาร์และวงแหวนของมันด้วยความสูงเหนือระดับเมฆดาวเสาร์ ประมาณ 72,400 กิโลเมตร และลดระดับลงไปจนถึง 6,700 กิโลเมตร จากขั้วเหนือไปยังขั้วใต้ของดาวเสาร์รวมระยะเวลาที่ใช้ในการสังเกตการณ์ประมาณ 1 ชั่วโมง ดังแสดงในวีดีโอที่ 2 

 

ภาพที่ 4  ภาพดาวเสาร์และวงแหวน โดยยานอวกาศแคสสินี เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2017

 

วีดีโอที่ 2 https://www.youtube.com/watch?v=9LBLCgCYy0I

 

        อย่างไรก็ตามจากการค้นพบช่องว่าง The Big Empty ระหว่างดาวเสาร์กับวงแหวน ทำให้ทีมงานวิศกรวางแผนปรับปรุงมุมมองกล้องเพื่อเตรียมพร้อมภารกิจดำดิ่งเข้าสู่วงโคจรครั้งต่อไปในวันที่ 29 มิถุนายน 2560

 

URL: 
http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/2968-the-big-empty-saturn
แหล่งที่มา: 
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.)