องค์การนาซาปล่อยบอลลูนเพื่อตรวจจับรังสีคอสมิก

ข่าวประจำวันที่: 
Thu 18 May 2017

องค์การนาซาปล่อยบอลลูนเพื่อตรวจจับรังสีคอสมิก

          โครงการ the International Extreme Universe Space Observatory (EUSO) ได้ทำการปล่อยบอลลูนความดันสูง (Super Pressure Balloon : SPB) ปริมาตรมาก 532,000 ลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 25 เมษายน 2560 ณ เมืองวานากา ประเทศนิวซีแลนด์ ให้ลอยไปยังบริเวณกลางละติจูดของซีกโลกใต้ ที่ระดับความสูง 33.5 กิโลเมตร เพื่อทดสอบการลอยตัวและตรวจวัด UV fluorescence 

 

 

        UV fluorescence ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อรังสีคอสมิกชนกับโมเลกุลไนโตรเจนในชั้นบรรยากาศ โดยเครื่องตรวจวัดมีน้ำหนัก 2,495 กิโลกรัม นั้นถูกแขวนไว้ด้านใต้ลูกบอลลูน

 

        Angela V. Olinto ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยชิคาโกผู้ดูแลโครงการนี้ได้กล่าวว่า “แหล่งกำเนิดของอนุภาคนี้ลึกลับมาก ภารกิจของเราจะช่วยแก้ข้อข้องใจนั้นว่ารังสีคอสมิกมาจากไหนกันแน่”

 

        ผลการติดตามพบว่าการปล่อยตัวประสบความสำเร็จ บอลลูนสามารถเดินทางจาก เมืองวานากา ประเทศนิวซีแลนด์ ผ่านอาร์เจนตินาและอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่บริเวณกลางละติจูดของซีกโลกใต้ได้แล้ว

 

URL: 
http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/2965-nasas-super-pressure-balloon-uv-fluorescence
แหล่งที่มา: 
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.)