เชื้อโควิด"โอไมครอน" วัคซีนเดิมจะยังใช้ได้ผลอยู่ไหม

ข่าวประจำวันที่: 
Wed 1 December 2021

  "โอไมครอน" เป็นเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่กลายพันธุ์อย่างรุนแรงและองค์การอนามัยโลก (WHO) 
ประกาศให้เป็นสายพันธุ์ "น่ากังวล" หลังจากพบการอุบัติขึ้นทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ปัจจุบันเชื้อ
กลายพันธุ์ชนิดนี้ได้แพร่ระบาดไปในหลายประเทศทั่วโลกแล้ว

จนถึง 29 พ.ย. มีรายงานพบผู้ติดเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ชนิดนี้ในกว่า 13 ประเทศแล้ว ล่าสุดสกอตแลนด์
พบ 6 ราย ส่วน รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศห้ามชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศอีกครั้งหลังจากเพิ่งเปิดประเทศ
ไปได้เพียง 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน นับเป็นประเทศที่ 2 ต่อจาก
อิสราเอลที่ห้ามคนต่างชาติเข้าประเทศ

ขณะเดียวกันบริษัทเวชภัณฑ์หลายแห่งเผยว่า ได้เริ่มต้นกระบวนการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 รุ่นใหม่ที่
ได้รับการปรับสูตร เพื่อรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์ชนิดใหม่ "โอไมครอน"แล้ว

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนที่จะบ่งชี้ได้ว่า เชื้อโอไมครอน 
สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าเชื้อสายพันธุ์อื่น ๆ หรือทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้รุนแรงกว่า

วัคซีนจะยังใช้ได้ผลอยู่ไหม
   ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าวัคซีนที่มีอยู่อาจจัดการกับไวรัสกลายพันธุ์ได้ไม่ดีเท่าเดิม แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความ
ว่าจะช่วยป้องกันไม่ได้เลย เพราะอย่าลืมว่าวัคซีนที่มีก็สามารถช่วยให้คนไม่ล้มป่วยหนักจากโควิด
สายพันธุ์หลักอื่น ๆ อย่างเดลตา อัลฟา เบตา และแกมมา
   แพทย์แนะนำให้คนไปฉีดวัคซีนให้ครบโดสตามที่แนะนำเพื่อทำให้สามารถป้องกันเชื้อกลายพันธุ์
ที่มีอยู่และที่กำลังจะเกิดขึ้นในสหราชอาณาจักร แม้ว่าจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสูงขึ้นแต่จำนวนผู้
ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและผู้เสียชีวิตก็ยังต่ำกว่าตอนโควิดระบาดระลอกแรก ๆ มาก
ต่อจากนี้ นักวิทยาศาสตร์จะทำการทดลองดูว่าวัคซีนจะใช้ได้ผลกับโควิดกลายพันธุ์นี้แค่ไหน
   ตอนนี้ยังเร็วไปกว่าที่จะสรุปอะไรแต่การที่เชื้อไวรัส B.1.1.529 มีการเปลี่ยนแปลงจนแตก
ต่างไปอย่างมาก เมื่อเทียบกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมซึ่งมีต้นกำเนิดที่นครอู่ฮั่นของจีน ทำให้มีความ
เป็นไปได้สูงว่า วัคซีนโควิดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อกลายพันธุ์ตัวนี้ และหากมีการ
แพร่ระบาดลามออกไปเป็นวงกว้าง ก็จะยิ่งทำให้สถานการณ์โควิดในหลายประเทศ ซึ่งกำลังเผชิญกับ
การระบาดระลอก 4 เลวร้ายยิ่งขึ้น
   ส่วนการกลายพันธุ์ในอีกหลายสิบตำแหน่งที่นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยเห็นมาก่อนนั้น ยังคงต้องรอการ
ตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการอีกนานหลายสัปดาห์ จึงจะสามารถบอกได้ว่ายีนเหล่านั้นมีผลทำให้เชื้อ
โควิดดังกล่าวมีฤทธิ์ร้ายแรง เหนือกว่าเชื้อกลายพันธุ์ชนิดอื่น ๆ ที่เคยพบมาก่อนหรือไม่

เราจะได้วัคซีนจัดการเชื้อกลายพันธุ์นี้เมื่อไหร่
   ตอนนี้ได้เริ่มมีการพัฒนาและทดสอบวัคซีนสำหรับเชื้อกลายพันธุ์ใหม่ ๆ แล้วเผื่อว่าวันหนึ่งต้อง
ใช้ขึ้นมาเมื่อวันนั้นมาถึง วัคซีนตัวใหม่อาจพร้อมนำไปใช้ภายในไม่กี่สัปดาห์หลังการทดลอง 
ผู้ผลิตวัคซีนก็สามารถเร่งผลิตวัคซีนให้เร็วขึ้น และหน่วยงานด้านยาก็ได้เริ่มพูดคุยแล้วว่าจะ
เร่งกระบวนการอนุมัติอย่างไร

แน่นอนว่าจะไม่มีทางลัดสำหรับขั้นตอนทั้งหมด แต่เราอาจได้วัคซีนตัวใหม่เร็วกว่ารอบแรก

   บริษัทโนวาแวกซ์ (Novavax) คาดว่า การพัฒนาวัคซีนต้านโควิดรุ่นใหม่จะแล้วเสร็จ 
พร้อมสำหรับการทดสอบและการผลิตภายในอีกไม่กี่สัปดาห์

   ส่วนบริษัทไบออนเทค (BioNTech) ระบุว่า อาจสามารถผลิตวัคซีนรุ่นใหม่ และส่ง
มอบสินค้าให้ได้ภายใน 100 วัน หากมีการตรวจพบว่า เชื้อโอไมครอนสามารถหลบเลี่ยง
ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันได้

   ขณะที่บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ระบุว่า ได้เริ่มศึกษาวิจัยในประเทศบอตสวานา และเอสวาตีนี 
ซึ่งเป็นแหล่งที่ตรวจพบเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานจริงว่า วัคซีนของบริษัท
ส่งผลอย่างไรต่อเชื้อโอไมครอน

   ด้าน นพ.พอล เบอร์ตัน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายแพทย์ของบริษัทโมเดอร์นา ตั้งข้อสันนิษฐานว่า
 เชื้อโอไมครอนอาจสามารถหลบเลี่ยงวัคซีนต้านโควิดที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ และหากเป็นเช่นนั้น
จริง ก็จะต้องมีการผลิตวัคซีนชนิดใหม่ที่ได้รับปรับปรุงสูตร ซึ่งคาดว่าจะออกมาได้ใน
ช่วงต้นปีหน้า
"เราน่าจะได้ทราบว่าวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้เพียงใดภาย
ในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า" นพ. เบอร์ตัน กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับบีบีซีเมื่อ 28 พ.ย.
เขาอธิบายต่อว่า "
หากเราจะต้องผลิตวัคซีนชนิดใหม่ขึ้น ผมคิดว่าจะต้องเป็นช่วงต้นปี 
2022 ที่จะสามารถผลิตออกมาได้ในบริมาณมาก" นพ. เบอร์ตัน ระบุว่า วัคซีนต้าน
โควิดที่มีอยู่ในปัจจุบันยังสามารถให้การคุ้มกัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นได้รับวัคซีน
ไปนานเท่าใดแล้ว และคำแนะนำดีที่สุดคือ ให้รีบรับวัคซีนต้านโควิดที่มีอยู่ในปัจจุบัน

 

แหล่งที่มา: 
https://www.bbc.com/thai/international-59444315