การโคจรแบบหมุนควงของดาวฤกษ์ ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์
พบการโคจรแบบหมุนควงของดาวฤกษ์
ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์
ทีมนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์นานาชาติของยุโรป ได้ติดตามดาวฤกษ์ที่มีชื่อว่า S2 ซึ่งโคจรเข้าใกล้หลุมดำมวลยิ่งยวด Sagittarius A ที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกทุก 16 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ.1992 - 2019 พบว่า วงโคจรไม่ได้คงที่เหมือนที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่โคจรเป็นลูกข่าง หรือคล้ายภาพกลีบดอกไม้
วิถีโคจรที่แปลกประหลาดดังกล่าว เกิดขึ้นในสภาวะที่ดาวฤกษ์ตกอยู่ใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วงมหาศาลจากหลุมดำเมื่อ S2 โคจรเข้าใกล้ จนทำให้เหมือนมีแรงเหวี่ยงจากหลุมดำจนโคจรเป็นวิถีแบบนี้นั่นเองครับ
จากการค้นพบวิถีโคจรในครั้งนี้ ทำให้สามารถคำนวณมวลของหลุมดำ Sagittarius A ได้อย่างแม่นยำมากขึ้นด้วย โดยล่าสุดยืนยันว่า หลุมดำนี้มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 4 ล้านเท่าเลยทีเดียว
#STKC
วันที่:
Tue 19 May 2020
แหล่งที่มา:
https://www.bbc.com/thai/features-52362272
Hits 767 ครั้ง
หมวดหมู่ OECD:
คำสำคัญ: