Actinium

Actinium

ธาตุกัมมันตรังสี คือสสารชนิดหนึ่งที่สามารถปล่อยพลังงานรังสี เช่น รังสีแอลฟา (α) , รังสีบีต้า (β)  และรังสีแกมมา (γ)  มาออกมาจากกระบวนการสลายตัวของธาตุหรือไอโซโทป ซึ่งรังสีที่แผ่ออกมานั้นเป็นพลังงานชนิดหนึ่งเรียกว่ากัมมันตภาพรังสีนั่นเอง และการเปลี่ยนแผ่รังสีนี้สามารถเปลี่ยนธาตุดังกล่าวเป็นธาตุอื่นได้ด้วย

โดยธาตุกัมมันตรังสีนั้นมีการค้นพบครั้งแรกโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ อองตวน อองรี เบ็กเคอเรล (Antoine Henri Becquerel) ในปีค.ศ. 1896 ซึ่งเป็นการค้นพบอย่างบังเอิญเนื่องจากพบฟิล์มถ่ายรูปที่เก็บไว้กับธาตุยูเรเนียมและนำมาห่อด้วยกระดาษสีดำ มีคุณลักษณะเปลี่ยนไปกลายเป็นมีลักษณะเดียวกันกับฟิล์มรับแสง ดังนั้นเบ็กเคอเรลจึงได้จำลองการทดลองโดยนำธาตุยูเรเนียมชนิดอื่นมาทดลองก็ได้ผลเช่นเดียวกัน จึงสามารถสรุปได้ว่ามีการแผ่รังสีออกมาจากธาตุยูเรเนียม

ต่อมาปีแอร์ คูรี และ มารี คูรี (Pierre Curie and Marie Curie) ได้มีการค้นพบเพิ่มเติมว่าไม่เพียงแค่ธาตุยูเรเนียมเท่านั้น ธาตุชนิดอื่นก็สามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกัน และยังพบอีกว่าสารกัมมันตรังสีนั้นมีอานุภาพสูงและสามารถทะลุทะลวงได้ด้วย เช่น รังสีแกมมาสามารถทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายหรือ  สามารถทำลายกระดูกและทำให้ผิวหนังแห้งได้ โดยผลกระทบของกัมมันตรังสีกับมนุษย์นั้นนอกจากปริมาณการได้รับรังสีปริมาณมากหรือปริมาณน้อยแล้วนั้น อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและ สุขภาพของผู้ที่ได้รับยังเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ทำให้แต่ละคนได้รับปริมาณรังสีไม่เท่ากัน โดยอวัยวะที่อ่อนไหวมากที่สุดคือ ระบบสืบพันธุ์ และระบบสร้างเม็ดเลือดของร่างกาย โดยอาการของผู้ได้รับรังสีจากสารกัมมันตรังสีนั้นเริ่มจากมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ผมร่วง เบื่ออาหาร ผมร่วงเปลี่ยนแปลงยีนในพันธุกรรม ไปจนถึงผิวหนังเป็นพุพอง และเสียชีวิตในที่สุด

แหล่งที่มา : https://www.scimath.org/article-chemistry/item/11221-2019-12-19-04-50-43

ภาพ: 
หมวดหมู่ OECD: