เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเทศกาลกินเจ

"เทศกาลกินเจ" มีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลถือศีลกินผัก" หรือบางครั้งเรียกว่า "ประเพณีถือศีลกินเจ" โดยในช่วงเทศกาลนี้ผู้คนมักจะสวมเสื้อผ้าสีขาว จนถือเป็นสิ่งที่มักปฎิบัติกันมา เพื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ อีกด้วย

"เจ" คืออะไร "กินเจ" เพื่ออะไร

คำว่า "เจ" ในภาษาจีน มีความหมายว่า "อุโบสถ" หรือ การรักษาศีล 8 ของทางศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่จะมีการรักษาอุโบสถศีล ไม่บริโภคอะไรหลังเที่ยงวัน ตามหลักศีล 8 ข้อ และเป็นการไม่บริโภคเนื้อสัตว์ เพื่อเป็นการไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิต รวมถึงรักษาศีล โดยการกินเจ นั้นมีจุดประสงค์หลัก ๆ คือ

  • กินเจเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น : เพราะอาหารเจเป็นอาหารประเภทชีวจิต ช่วยปรับร่างกายให้สมดุล สามารถขับพิษของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกายได้ ร่างกายแข็งแรง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ 
  • กินเจเพื่อทำบุญ : เพื่อชำระจิตใจให้ใสสะอาดไม่เบียดเบียดสัตว์โลก ทำให้จิตใจผ่องใสมากขึ้น 
  • กินเจเพื่อละเว้นกรรม : ที่เกิดจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต โดยตามหลักความเชื่อทางศาสนาพุทธ การฆ่าเพื่อเอาเลือดเนื้อผู้อื่นมาเป็นของเราเป็นการสร้างกรรมในรูปแบบหนึ่ง แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือฆ่าเองก็ตาม

การกินเจมีหลักคือ

  • งดเว้นเนื้อสัตว์เลย ไม่ว่า นมหรือไข่
  • งดเว้นผักที่มีกลิ่นฉุน เช่น กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุ้ยช่าย ใบยาสูบ 
  • งดเว้นกินรสจัด และของหมักดอง
  • ต้องถือศีลครบถ้วน ซึ่งหมายถึงไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

การปฏิบัติตนในช่วงกินเจ

ในช่วงเทศกาลกินเจ 9 วัน 9 คืน ผู้ที่ต้องการกินเจอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ซึ่งจะต้องปฏิบัติดังนี้

  • รับประทานอาหารเจ
  • งดอาหารรสจัด ซึ่งหมายถึงอาหารเผ็ด หวานมาก เปรี้ยวมาก เค็มมาก งดผักที่มีกลิ่นฉุนทั้งหลาย แยกภาชนะสำหรับอาหารเจเท่านั้น
  • รักษาศีลห้า
  • รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์ ไม่พูดคำหยาบคาย รวมถึงงดการมีเพศสัมพันธ์ ทำบุญทำทาน ไหว้พระ สวดมนต์
  • นุ่งขาวห่มขาวตลอดเทศกาลกินเจ และควรแต่งกายชุดขาวเข้าร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ ด้วย

กินเจ อย่างไรถูกหลักโภชนาการ และไม่อ้วน

คนที่กินเจอยู่ทุกปีอาจจะคุ้นชินกับคำว่า "ล้างท้อง" ก่อนการกินเจ ซึ่งมักจะเริ่มก่อนกินเจ 2-3 วัน นั้นคือ การปรับการกิน เพื่อให้ร่างกายได้ค่อย ๆ ปรับระบบการย่อยอาหารจากที่ย่อย "เนื้อสัตว์" มาเป็น "พืชผัก" แทน

อย่างที่บอก การกินเจควรให้ร่างกายได้ค่อย ๆ ปรับตัว เตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ เพิ่มการกินผักในมื้ออาหารให้มากขึ้น ลดปริมาณเนื้อสัตว์หรือเปลี่ยนจาก เนื้อวัว เนื้อหมู เป็นการกิน ปลา ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง แทน และเมื่อกินเจก็อย่าลืมใส่ใจหลักโภชการด้วย โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้ 

  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละมื้ออาหาร ประกอบด้วย โปรตีนจากถั่วเมล็ดแห้ง คาร์โบไฮเดรตจากข้าวแป้ง วิตามินและแร่ธาตุ จากพืชผัก ผลไม้ และไขมันจากน้ำมันแต่พอดี
  • กินโปรตีนจากพืชให้หลากหลายและเพียงพอ เช่น เต้าหู้ ฟองเต้าหู้ น้ำเต้าหู้ โปรตีนเกษตร ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วเมล็ดแห้งทุกชนิด
  • เลือกปรุงหรือซื้ออาหารที่มีรสชาติปานกลาง ไม่หวาน มัน เค็มจัด โดยเลือกเมนูประเภท ต้ม นึ่ง 
  • กินอาหารกลุ่มข้าวแป้ง เส้นต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนื้อสัตว์ที่ทำจากแป้งในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาจทำให้ได้พลังงานจากคาร์โบไฮเครตมากเกินไป
  • เลือกกินผักผลไม้สด มากกว่าของมักดอง เพราะมีปริมาณโซเดียมสูง 
  • วัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหารต้องไม่ปนเปื้อนเชื้อโรคและสารเคมีตกค้าง พืชผักควรล้างให้สะอาด

 

วันที่: 
Wed 2 October 2024
แหล่งที่มา: 
https://www.thaipbs.or.th/news/content/344640
Hits 502 ครั้ง