จากภูเขาวาติกันสู่ศูนย์กลางคริสต์ศาสนา เรื่องเล่าที่คุณอาจไม่เคยรู้

จากพื้นที่เล็ก ๆ บนเนินเขาวาติกันในอดีต สู่การเป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธาของคริสต์ศาสนา โลกอาจรู้จักวาติกันในฐานะที่ประทับของพระสันตะปาปา แต่เบื้องหลังยังมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และความเชื่อที่น่าสนใจอีกมากมาย ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

          นครรัฐวาติกัน (อังกฤษ: Vatican City State; อิตาลี: Stato della Città del Vaticano) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลซึ่งน้อยที่สุดในโลกทั้งในแง่พื้นที่และประชากร ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งศาสนจักรโรมันคาทอลิก ศูนย์กลางคือมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งออกแบบโดยมีเกลันเจโลการปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์หรือสละสมณศักดิ์ โดยปัจจุบันตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาว่างลงหลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสซึ่งได้รับเลือกเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2568

ประวัติศาสตร์
          เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2472 นครรัฐวาติกันและอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญา ยอมรับสถานะของนครรัฐวาติกันเป็นรัฐเอกราชมีอำนาจอธิปไตยของตนเอง[5] ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 นครรัฐวาติกันได้รับการจารึกให้เป็นดินแดน ที่จะต้องได้รับการปกป้องรักษาไว้เป็นพิเศษในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งทางอาวุธ (International Register of Cultural Works under Special Protection in Case of Armed Conflict) เนื่องจากเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมของโลก มีหอสมุดอันเก่าแก่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 (the Apostolic Library of the Vatican)
ต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ได้มีการจัดตั้งหอจดหมายเหตุนครรัฐวาติกัน (Secret Archive of the Vatican) พิพิธภัณฑ์วาติกัน มหาวิหารนักบุญเปโตร และมีสำนักพิมพ์ของตนชื่อ the Vatican Polyglot Press ซึ่งเป็นที่จัดพิมพ์ผลงานภาษาต่าง ๆ รวมทั้งออกหนังสือพิมพ์รายวัน Observatore Romano ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ. 2404 และตั้งแต่ พ.ศ. 2474 นครรัฐวาติกันได้จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง ถ่ายทอดเสียงภาษาต่าง ๆ ถึง 30 ภาษา ปัจจุบัน นครรัฐวาติกันมีสถานีวิทยุกระจายเสียง 3 สถานี สถานีโทรทัศน์ 1 สถานี

พระสันตะปาปา
          พระสันตะปาปาทรงอำนาจสูงสุดทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ[6] พระสันตะปาปาองค์ล่าสุดคือสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ชาวอาร์เจนตินาเชื้อสายอิตาลี ทรงได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556 โดยคณะพระคาร์ดินัล ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาของสมเด็จพระสันตะปาปา โดยพระคาร์ดินัลที่มีอายุต่ำกว่า 80 ปีเท่านั้นจึงจะมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง พระสันตะปาปาที่ทรงได้รับเลือกตั้งแล้วตามปกติจะอยู่ในตำแหน่งไปจนตลอดพระชนม์ชีพ เว้นแต่จะมีการสละตำแหน่งพระสันตะปาปา ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ก่อนหน้านี้คือสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ได้สละตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การบริหารศาสนจักร
          การบริหารศาสนจักรเป็นหน้าที่ของสภาปกครองโรมัน (the Roman Curia) หรือสำนักงานบริหารศาสนจักรส่วนกลาง ซึ่งมักเรียกว่าสันตะสำนัก (Holy/Apostolic See) มีหน่วยงานหลักคือ สำนักเลขาธิการแห่งรัฐ (Secretariat of State) รับผิดชอบการบริหารประเทศ โดยมีพระคาร์ดินัลเลขาธิการแห่งรัฐ (Cardinal Secretary of State) เป็นหัวหน้า (เทียบเท่านายกรัฐมนตรี) มีหน้าที่รับผิดชอบกิจการด้านการเมืองและการทูตของนครรัฐวาติกัน
สมณะกระทรวงสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วและคณะชีวิตแพร่ธรรม รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลคณะนักบวชคาทอลิกคณะต่าง ๆ
สมณะกระทรวงบาทหลวง รับผิดชอบเกี่ยวกับบาทหลวงและผู้ช่วยบาทหลวงที่มิใช่นักบวช รวมถึงกิจกรรมและวินัยของบาทหลวงประจำมุขมณฑล
สมณะกระทรวงการศึกษาคาทอลิก รับผิดชอบเกี่ยวกับเซมินารี รวมทั้งการส่งเสริมและการจัดตั้งสถานศึกษาคาทอลิก โดยเฉพาะ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

ภูมิศาสตร์
          แผนที่ของ ริโอนี บอร์โก ของกรุงโรม ในปี พ.ศ. 2322 ก่อนแบ่งแยกนครรัฐวาติกัน คำว่า วาติกัน ปรากฏก่อนการสถาปนาศาสนจักร โดยมาจากคำในยุคโรมัน (ละติน: Mons Vaticanus) หมายถึง ภูเขาวาติกัน[7] เขตของนครรัฐวาติกันเป็นส่วนหนึ่งของ Mons Vaticanus และเขตวาติกันในอดีตที่อยู่ติดกัน วาติกันคือที่ตั้งของมหาวิหารนักบุญเปโตร, พระราชวังพระสันตะปาปา, โบสถ์น้อยซิสทีน และพิพิธภัณฑ์รวมทั้งอาคารอื่น ๆ พื้นที่นี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของรีโอนี (พื้นที่ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์) บอร์โก ของกรุงโรมกระทั่งปี พ.ศ. 2472 ได้แบ่งแยกออกมาตามแนวฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไทเบอร์ วาติกันก่อตั้งขึ้นอยู่โดยได้รับการป้องกันภายในเขตกำแพงของสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 4 (พ.ศ. 1390 – 1398) และต่อมาขยายโดยกำแพงป้อมปราการที่ปรากฏในปัจจุบันซึ่งสร้างขึ้นในสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 3 (พ.ศ. 2077 – 2092), สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 4 (พ.ศ. 2102 – 2108) และสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8 (พ.ศ. 2166 – 2187)

แผนที่ของนครรัฐวาติกัน, แสดงกลุ่มอาคารที่สำคัญและบริเวณสวนวาติกัน
เมื่อสนธิสัญญาลาเตรัน ในปี พ.ศ. 2472 กำหนดเตรียมการจัดตั้งนครรัฐ ขอบเขตของดินแดนที่เสนอนั้นได้รับการพิจารณาจากส่วนใหญ่ทั้งหมดที่อยู่ภายในวงรอบนี้ สำหรับสถานที่บางแห่งของเขตแดนไม่มีกำแพง แต่มีอาคารบางหลังที่จัดเป็นส่วนหนึ่งของเขตแดนแทน และบางส่วนเล็ก ๆ ของเขตแดนก็มีการสร้างกำแพงสมัยใหม่ขึ้นมา

อาณาเขตประกอบด้วย จัตุรัสนักบุญเปโตร ซึ่งแบ่งแยกจากดินแดนของอิตาลีโดยมีเพียงเส้นสีขาวตามแนวขอบเขตของจัตุรัส ที่ซึ่งติดกับจัตุรัสปิอุสที่สิบสองของกรุงโรม สามารถเข้าถึงจัตุรัสนักบุญเปโตรได้โดยผ่านถนน della Conciliazione ทอดระหว่างริมฝั่งแม่น้ำไทเบอร์ไปยังมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งสร้างขึ้นโดยเบนิโต มุสโสลินี หลังจากบทสรุปของสนธิสัญญาลาเตรัน

ไม่มีการควบคุมหนังสือเดินทางสำหรับผู้เข้าชมนครวาติกันจากดินแดนอิตาลีโดยรอบ สามารถเข้าถึงในบริเวณจัตุรัสและมหาวิหารนักบุญเปโตรโดยสาธารณะและไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาทรงตรัสกับสาธุชนที่มารวมตัวกัน ณ จตุรัสนักบุญเปโตร ผู้ชมเหล่านี้และสำหรับพิธีสำคัญในมหาวิหารและจัตุรัสจะต้องรับบัตรฟรีก่อน, พิพิธภัณฑ์วาติกันซึ่งรวมถึงโบสถ์น้อยซิสทีน มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม สำหรับสวนวาติกันไม่เปิดให้เข้าชมโดยทั่วไป แต่มีการนำชมสวนและงานขุดใต้มหาวิหารโดยไกด์สำหรับกลุ่มเล็ก ๆ สำหรับสถานที่อื่น ๆ เปิดให้เฉพาะบุคคลที่มีธุระติดต่อสถานที่นั้นเท่านั้น

ประชากร
          สันตะองค์รักษ์สวิส ในชุดเครื่องแบบคนเชื้อชาติวาติกันไม่มีในโลก มีแต่พลเมืองสัญชาติวาติกันเป็นอย่างมาก นครรัฐวาติกันมีพลเมืองประมาณ 900 คน ประมาณ 200 คนเป็นสตรี และมีคนทำงานในนครวาติกัน 1,300 คน พลเมืองอันประกอบด้วยองค์สันตะปาปา คาร์ดินัล ผู้ปกครองนครรัฐ วาติกัน เจ้าหน้าที่ประจำวาติกัน และทหารสวิสมีหอกโบราณเป็นอาวุธประดับเกียรติ ซึ่งเป็นองครักษ์ของสันตะปาปาประมาณ 100 คน ทหารสวิส มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2049 การแต่งกายของทหารสวิส กล่าวกันว่าเครื่องแบบออกแบบโดย “มีเกลันเจโล” แต่แท้จริงแล้ว "ราฟาเอล" คือบุคคลที่พัฒนาชุดตามอิทธิพลทางศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและภาพเขียนของเขา ทหารสวิสทุกคนเป็นชาวสวิส และเป็นคาทอลิกที่ดี ทหารสวิสแต่ละคนจะประจำการชั่วระยะหนึ่ง นอกจากนั้นก็ได้แก่เจ้าหน้าที่ทูตวาติกันที่ประจำอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย พลเมืองวาติกันเหล่านี้จะมีสัญชาติวาติกันเฉพาะในขณะดำรงตำแหน่งหรือเป็นภรรยาของพลเมืองวาติกัน หรือเป็นบุตรที่มีอายุไม่เกิน 25 ของพลเมืองวาติกัน บุตรคนใดอายุถึง 25 ปี ต้องกลับคืนสัญชาติเดิม[9][10] ผู้ถือสัญชาติวาติกัน หากพ้นตำแหน่งเมื่อใดก็ต้องคืนสู่สัญชาติเดิมของตน พร้อมด้วยบุคคลทุกคนในครอบครัวที่ถือสัญชาติวาติกัน หากชาติเดิมของตนไม่ยอมรับให้ขอสัญชาติอิตาลีซึ่งรัฐบาลอิตาลีมีข้อผูกมัดต้องรับเสมอตามความตกลงในสนธิสัญญาลาเตรัน

วันที่: 
Thu 24 April 2025
แหล่งที่มา: 
https://th.wikipedia.org/wiki/นครรัฐวาติกัน
Hits 46 ครั้ง
หมวดหมู่ OECD: