ดาวเคราะห์ 7 ดวงในเดือนกุมภาพันธ์
การเรียงตัวที่หายากของดาวเคราะห์ 7 ดวงกำลังเกิดขึ้นบนท้องฟ้าในสัปดาห์นี้
ในช่วงค่ำของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ดาวเคราะห์ทั้ง 7 ดวงในระบบสุริยะจะปรากฏบนท้องฟ้าในยามค่ำคืนพร้อมกัน โดย ดาวเสาร์ ดาวพุธ ดาวเนปจูน ดาวศุกร์ดาว ยูเรนัสดาว พฤหัส และดาวอังคาร เรียงตัวกันเป็นแถวสวยงาม
ถือเป็นงานเลี้ยงบนท้องฟ้าที่งดงามตระการตาที่เรียกว่าการเรียงตัวของดาวเคราะห์ที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ดาวเคราะห์บางดวงจะอยู่ในด้านเดียวกันของดวงอาทิตย์ในเวลาเดียวกัน แต่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนักที่ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่หรือแม้แต่ทั้งหมดจะเรียงตัวกันแบบนี้ การมีดาวเคราะห์ตั้งแต่ 3 ถึง 8 ดวงในจำนวนใด ๆ ก็ตามจะถือว่าเป็นการเรียงตัวกัน การมีดาวเคราะห์ 5 หรือ 6 ดวงมาเรียงตัวกันเรียกว่าการเรียงตัวกันครั้งใหญ่ โดยที่การเรียงตัวกันของดาวเคราะห์ 5 ดวงเกิดขึ้นบ่อยกว่าการเรียงตัวของดาวเคราะห์ 6 ดวงอย่างเห็นได้ชัด การเรียงตัวที่ยิ่งใหญ่ของดาวเคราะห์ทั้งเจ็ดนั้นเป็นสิ่งที่หายากที่สุด
ภาพประกอบการเรียงตัวของดาวเคราะห์ในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ เมื่อมองจากซีกโลกเหนือ (Star Walk)
การจัดวางตำแหน่งเหล่านี้ไม่ใช่ลำดับชั้นของดาวเคราะห์ที่เห็นในแผนภาพและภาพประกอบของระบบสุริยะ ซึ่งน่าเศร้าที่สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริงในจักรวาลที่แท้จริง แต่ดูเหมือนว่าดาวเคราะห์จะเรียงตัวกันตามเส้นสมมุติ สาเหตุนี้เกิดขึ้นเนื่องจากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะทุกดวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ในระนาบที่เรียกว่า ระนาบสุริยุปราคา (ecliptic) ดาวเคราะห์บางดวงมีวงโคจรเอียงเล็กน้อยเหนือหรือต่ำกว่าระนาบนี้ แต่โดยรวมแล้วมันจะอยู่ในระดับเดียวกัน คล้ายกับร่องบนแผ่นเสียง เนื่องมาจากดาวฤกษ์อย่างเช่น ดวงอาทิตย์
ดาวเคราะห์เกิดจากสิ่งที่เหลืออยู่ในแผ่นดิสก์ และหากไม่มีอิทธิพลทางแรงโน้มถ่วงจากภายนอกเข้ามารบกวน มันจะคงโคจรอยู่ในตำแหน่งระดับนั้นต่อไป ในบางครั้ง ดาวเคราะห์ต่าง ๆ จะโคจรมาอยู่ด้านเดียวกันของดวงอาทิตย์ ดังนั้นเราจึงสามารถมองเห็นดาวเคราะห์เหล่านี้บนท้องฟ้าได้ในเวลาเดียวกัน นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นบนท้องฟ้าในตอนเย็นของวันที่ 28 กุมภาพันธ์
วิธีการรับชม
จะสามารถมองเห็นการเรียงตัวของดาวเคราะห์ได้หรือไม่ ขึ้นและลงเมื่อใด และในลำดับใด ขึ้นอยู่กับว่าคุณกำลังมองจากที่ใดในโลก มีเครื่องมือที่คุณสามารถเข้าถึงเพื่อรับเวลาและตำแหน่งท้องฟ้าเหล่านั้นได้ Time and Dateมีเครื่องมือแบบโต้ตอบที่ช่วยให้คุณตั้งวันที่ต้องการดู โดยแสดงเวลาขึ้นและเวลาตกของแต่ละดาวเคราะห์ ตำแหน่งบนท้องฟ้าที่สามารถมองเห็นได้ และระดับความยากในการมองเห็น
ข้อเท็จจริง
ในโลกออนไลน์มีเรื่องราวทำนองนี้แพร่ออกมาอย่างสม่ำเสมอ แทบทุกปี ปีละหลายครั้ง บางครั้งก็บอกว่าเรียงกันห้าดวงบ้าง หกดวงบ้าง ครั้งนี้มากหน่อย บอกว่าเรียงกันเจ็ดดวง ความจริงนั้นดาวเคราะห์เรียงกันจริง แต่ไม่ได้เรียงเป็นแนวแบบที่เห็นในภาพข้างบน และไม่ได้เรียงกันแค่วันที่ 25 ด้วย ดาวเคราะห์ทุกดวงเรียงกันบนฟ้าทุกวัน เพราะคำว่าดาวเคราะห์เรียงกันมักพูดกันนั้น หมายถึงปรากฏว่าเรียงกันเป็นแถวบนท้องฟ้าเมื่อมองจากโลก เหมือนดาวเคราะห์เข้าแถว แต่ในอวกาศดาวเคราะห์ไม่ได้เรียงกันจริง ๆ
ดาวเคราะห์แต่ละดวงมีวงโคจรเป็นของตัวเอง มีคาบโคจรช้าเร็วต่างกันไป ดังนั้นเมื่อมองลงมาจากมุมมองที่อยู่เหนือระนาบวงโคจรจะเห็นดาวเคราะห์แต่ละดวงอยู่กระจัดกระจายกันไปไม่ได้เรียงกัน แต่การที่วงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงมีระนาบใกล้เคียงกันจนเกือบเป็นระนาบเดียวกัน เมื่อมองดาวเคราะห์จากในระนาบวงโคจรนั้น ก็จะเห็นดาวเคราะห์ทุกดวงเรียงเป็นแนวเดียวกัน อาจจะคดบ้างเล็กน้อยเพราะระนาบวงโคจรของดาวเคราะห์แต่ละดวงไม่ได้ซ้อนทับกันพอดีเสียทีเดียว แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวเดียวกัน การที่เราดูดาวจากบนโลก จึงมองเห็นดาวเคราะห์ทั้งหมดเรียงกันเป็นแนวเดียวกันเสมอ ซึ่งระนาบที่เป็นแกนของแนวนั้นก็คือระนาบสุริยวิถีนั่นเอง
หากยังนึกภาพไม่ออก ให้นึกถึงตอนเราดูการแข่งขันฟุตบอลจากบนอัฒจันทร์ซึ่งเป็นมุมสูง จะเห็นนักฟุตบอลวิ่งเล่นกันกระจัดกระจายทั่วสนามไม่ได้เรียงกัน แต่ในมุมมองของนักฟุตบอลที่อยู่ในสนามหรือโคชที่ยืนอยู่ข้างสนาม จะมองเห็นนักฟุตบอลคนอื่นทุกคนอยู่ในแนวเดียวกันหมด เพราะนักฟุตบอลทั้งหมดรวมถึงตัวผู้ดูยืนอยู่บนระนาบเดียวกันซึ่งก็คือสนาม
แล้วโอกาสที่ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจะมาเรียงกันเป็นเส้นตรงแบบลูกชิ้นเสียบไม้เป็นไปได้หรือไม่?
ในทางทฤษฎีย่อมเป็นไปได้ แต่เกิดขึ้นยากมาก วิล ทริก จากเว็บไซต์ earthsky.org ได้เคยคำนวณไว้ว่ามีโอกาสเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้นได้ทุก 396 พันล้านปี ตัวเลขนี้ยาวนานกว่าอายุขัยของระบบสุริยะเสียอีก จึงกล่าวได้ว่าเป็นไปไม่ได้เลย
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ตำแหน่งดาวเคราะห์บนท้องฟ้าก็นับว่าน่าสนใจอยู่ไม่น้อย เพราะมีดาวเคราะห์สว่างให้เห็นหลายดวง เป็นช่วงฤดูหนาวที่ท้องฟ้าแจ่มใสเหมาะแก่การดูดาว และเป็นช่วงที่ดาวอังคารใกล้โลกจึงสว่างเป็นพิเศษ
ทันทีหลังดวงอาทิตย์ตกจนฟ้าเริ่มมืดมองเห็นดาว จะเห็นดาวเสาร์อยู่ใกล้ขอบฟ้าที่สุดอยู่ทางทิศตะวันตก แม้ช่วงนี้แสงจะริบหรี่ไปมากก็ตาม ถัดขึ้นมาเป็นดาวศุกร์สว่างไสว ใกล้จุดเหนือศีรษะเยื้องไปทางตะวันออกคือดาวพฤหัสบดี และที่อยู่เหนือขอบฟ้าทางทิศตะวันออกคือดาวอังคารที่อยู่ในช่วงสว่างเป็นพิเศษส่องแสงสีแดงส้มโดดเด่นเหนือใคร ความจริงยังมีอีกสองดวงที่ยังอยู่ในแนวนี้ด้วย แต่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า นั่นคือดาวเนปจูนและดาวยูเรนัส ดาวเนปจูนช่วงนี้อยู่เหนือดาวเสาร์ขึ้นมาเล็กน้อย ดาวยูเรนัสอยู่เหนือศีรษะเกือบพอดีเลยทีเดียว มีดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่ไม่ได้ร่วมวงในเย็นวันนั้นคือดาวพุธ เพราะในช่วงนั้นดาวพุธอยู่อีกฟากหนึ่งของดวงอาทิตย์ จึงมองเห็นได้ในช่วงเช้ามืดแทน ดาวเคราะห์ทั้งหมดเรียงเข้าแถวพาดเป็นแนวจากตะวันตกเฉียงใต้ไปยังตะวันออกเฉียงเหนือ
แผนที่ท้องฟ้า ณ วันที่ 25 มกราคม 2568 เวลา 19:00 น. เส้นสีเทาที่พาดผ่านท้องฟ้าคือเส้นสุริยวิถี
ดาวเคราะห์แต่ละดวงมีการเปลี่ยนตำแหน่งไปบนท้องฟ้าวันละน้อย ดังนั้นปรากฏการณ์ดาวเคราะห์เรียงแถวเช่นนี้จึงเกิดขึ้นได้ครั้งละหลายวัน และหากสังเกตทุกวันก็จะสังเกตการเปลี่ยนตำแหน่งของดาวเคราะห์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะดาวศุกร์และดาวอังคาร เป็นวิธีการเรียนรู้การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ที่ดีวิธีหนึ่ง แม้ปรากฏการณ์นี้จะไม่ได้มีความพิเศษอะไรมากนัก แต่ก็มีเสน่ห์น่าเย้ายวน จึงอยากชวนให้ออกไปดูดาวกัน
บทสรุป
● วันที่ 25 มกราคม 2568 ดาวเคราะห์บนท้องฟ้าเรียงกันเป็นแนวเดียวกันจริง
● การเรียงนี้คือการเรียงกันบนท้องฟ้าเมื่อมองจากโลก ไม่ใช่เรียงกันในอวกาศ การเรียงกันในอวกาศของดาวเคราะห์เป็นเส้นตรงเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้
● ดาวเคราะห์บนฟ้าเรียงกันเป็นแนวเดียวกันทุกวัน ไม่ว่าวันไหน เดือนไหน ปีไหน ก็เรียง จึงไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นอะไร ถ้าเมื่อไหร่ที่ดาวเคราะห์บนฟ้าไม่เรียงเป็นแนวเดียวกันจึงจะถือว่าแปลก
Social Media
Facebook : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
Tiktok : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society
แหล่งที่มา
ภาพ