ประทัดกับความเป็นมา
FYI Today! เข้าสู่ "ตรุษจีน" ทำไมต้องจุดประทัด-ใส่สีแดง เปิดเรื่องเล่าขาน "เหนียน" สัตว์ร้ายในตำนาน ที่จะมาในวันสิ้นปี
ประทัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งของจีน โดยมีรากฐานมาจากราชวงศ์ฮั่น ประทัดยังคงเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานนับพันปี ดอกไม้ไฟที่ดังสนั่นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของวันหยุดและการเฉลิมฉลองต่างๆ ของจีน และเมื่อวันตรุษจีนใกล้เข้ามา จึงดูเหมือนว่าถึงเวลาแล้วที่จะสำรวจต้นกำเนิดของประเพณีเฉลิมฉลองนี้
หลายพันปีก่อน เกิดภาวะขาดแคลนเชื้อเพลิง ทำให้ชาวบ้านต้องตัดไม้ไผ่จากป่าใกล้เคียง แต่สิ่งที่ชาวบ้านไม่เข้าใจในเวลานั้นก็คือ ไม้ไผ่ไม่เหมาะกับการใช้ไฟเผา เนื่องจากไม้ไผ่เติบโตเร็ว ไม้ไผ่จึงกักเก็บอากาศไว้ในลำต้นเป็นจำนวนมาก เมื่อได้รับความร้อน อากาศจะขยายตัวและบีบอัดภายในลำต้น สำหรับชาวบ้านที่ไม่ทันระวังตัว การหันมาใช้ไม้ไผ่เป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดความประหลาดใจอย่างน่าตกใจ เมื่อไม้ไผ่สีเขียวถูกแกะสลักและทิ้งลงในกองไฟ อากาศที่ติดอยู่ภายในไม้ไผ่จะถูกทำให้ร้อน บีบอัด และระเบิดไม้ไผ่ด้วยเสียงดังปัง! เสียงปังและเสียงป๊อปทำให้ชาวบ้านตกใจและปศุสัตว์ตกใจกลัว หลังจากความหวาดกลัวในขณะนั้นคลี่คลายลงและค้นพบแหล่งที่มาของความโกลาหล ชาวบ้านก็พบการใช้งานใหม่ของทรัพยากรนี้ โดยให้เหตุผลว่าหากไม้ไผ่ที่ระเบิดสามารถทำให้สัตว์และมนุษย์ตกใจกลัวได้ ก็คงจะทำให้วิญญาณและสัตว์ประหลาดที่เชื่อกันมานานว่าคอยรังควานชุมชนตกใจกลัวได้อย่างแน่นอน ประทัดกลายเป็นประเพณีพิธีกรรมในวัฒนธรรมจีนเพื่อเป็นการเฝ้าและปกป้องจากความชั่วร้ายเหนือธรรมชาติ
คนจีนสมัยนั้นเชื่อว่าเสียงจากลำไผ่อวบอ้วนนี้น่าจะช่วยขับไล่วิญญาณพเนจร โดยเฉพาะ "เหนียน (年兽)" ซึ่งเป็นวิญญาณร้ายที่ชอบกัดกินพืชไร่สร้างความเสียหายแถมยังหลอกลวงมนุษย์ด้วย เพราะฉะนั้นในทุกเทศกาลเฉลิมฉลองสำคัญอย่างปีใหม่ แต่งงานและวันเกิด คนจีนจะจุดกองไฟโดยใช้กระบอกไม้ไผ่เป็นเชื้อเพลิงเพื่ออาศัยเสียงแปลกประหลาดตอนที่กระบอกไม้ไผ่ที่โดนความร้อนแล้วแตกเปรี้ยะ ๆ ให้ช่วยขับไล่ภูตผีวิญญาณร้ายไม่ให้มาก่อนกวน นับตั้งแต่นั้นมาก็มีการใช้ไม้ไผ่ที่ระเบิดนี้ โดยมีชื่อประทัดในภาษาจีนยังให้การยกย่องก้านไม้ไผ่ในยุคแรกด้วย ซึ่งคำ ว่า bàozhú (爆竹) แปลว่า “ไม้ไผ่ระเบิด” กันมาอีกหลายศตวรรษ
ปล. การเชิดสิงโตและจุดประทัดดอกไม้ไฟ การจุดประทัดและดอกไม้ไฟเป็นส่วนสำคัญของการฉลองปีใหม่ของจีน คู่กับการเชิดสิงโต
ต้นกำเนิดประทัดจีน
นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่าราว 2 พันปีที่แล้ว มนุษย์ค้นพบดินปืนซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำประทัดโดยบังเอิญ มีเรื่องเล่าขานกันว่าตอนที่พ่อครัวชาวจีนซึ่งเป็นนักเล่นแร่แปรธาตุค้นพบดินปืนในช่วงราชวงศ์ถัง กำลังตั้งไฟผสมกำมะถัน ถ่านและดินปะสิวเข้าด้วยกัน ส่วนผสมทั้งสามชนิดแห้งเกาะกันเป็นแผ่นแป้งสีดำและจะลุกเป็นไฟพรึ่บเมื่อเกิดการเผาไหม้ คนจีนในยุคนั้นเรียกสิ่งนี้ว่า “หั่วเย่า (火药)” หรือเคมีไฟ ส่วนผสมเคมีไฟที่ไม่ได้มีการปรุงแต่งอะไรเพิ่มเติมนี้มีพละกำลังไม่เท่าดินปืนเพราะมีส่วนผสมของดินปะสิวไม่มากพอ แต่ถึงอย่างนั้นเคมีไฟก็เผาไหม้ในระดับความร้อนสูงและลุกโชติช่วง ชาวจีนยังพบในเวลาต่อมาว่าถ้าเอาส่วนผสมของเคมีไฟใส่เข้าไปในกระบอกไม้ไผ่และโยนเข้าไปในกองไฟ ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ก็จะทำให้กระบอกไม้ไผ่ระเบิดแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ ซึ่งก็ยิ่งทำให้เกิดเสียงดังและมีพลังมากเสียยิ่งกว่าเฉพาะตัวกระบอกไม้ไผ่สีเขียวเปล่า ๆ เท่านั้น ต่อมาไม้ไผ่ได้เข้ามาแทนที่ม้วนกระดาษ แม้ว่าม้วนกระดาษจะยังคงรูปลักษณ์ของก้านไม้ไผ่ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของประทัดครั้งแรกไว้ก็ตาม ชื่อประทัดในภาษาจีนยังให้การยกย่องก้านไม้ไผ่ในยุคแรกด้วย โดยคำว่า bàozhú (爆竹) แปลว่า “ไม้ไผ่ระเบิด”
จากประทัดสู่อาวุธ
ราว ๆ ปี ค.ศ. 500 หรือประมาณพันห้าร้อยปีก่อน ประทัดจีนกลายมาเป็นส่วนสำคัญในการประกอบพิธีทางศาสนาและการเฉลิมฉลองในเทศกาลต่าง ๆ ของชาวจีนเพราะคนจีนถือว่าประทัดจะช่วยขับไล่ภูตผีปีศาจวิญญาณร้ายออกไปได้ ตอนนั้นก็มีคนที่ใส่ดินประสิวเข้าไปในส่วนผสมมากขึ้นเพื่อประทัดจะได้เผาไหม้เร็วขึ้น มีพลังในการระเบิดและส่งเสียงดังมากขึ้นไปอีก
ขณะนั้นชาวจีนเองก็ตระหนักดีถึงอำนาจการทำลายล้างของวัตถุที่สามารถใช้ในการผลิตระเบิดชนิดนี้ และนำมาประยุกต์ใช้ในการสงคราม ภายใน 100 ปีหลังจากนั้น คนจีนก็ใช้ดินปืนมาทำวัตถุระเบิดหลากหลายชนิด รวมทั้งลูกระเบิดและธนูไฟซึ่งทำขึ้นโดยใช้ประทัดที่ทำจากไม้ไผ่ติดไว้กับปลายธนูยิงใส่ข้าศึก
ตอนแรกคนจีนทำระเบิดขึ้นมาเพื่ออาศัยเสียงดังกึกก้องสะท้านโลกและแสงไฟที่ลุกโชติช่วงของมันขับไล่ศัตรูเท่านั้น แต่ท้ายที่สุดแล้วก็หันมาใช้อำนาจทำลายล้างของระเบิดสังหารข้าศึกด้วย ไม่นานหลังจากนั้น รูปแบบการทำประทัดจีนก็เปลี่ยนแปลงไปคือแทนที่จะใช้กระบอกไม้ไผ่ก็หันมาใช้กระบอกกระดาษบรรจุดินปืนและใส่ชนวนที่ทำจากกระดาษยาวเชื่อมไปยังดินปืนที่อยู่ข้างในประทัดชนิดหนึ่งที่รู้จักกันคือประทัดลูกหนู มีการประดิษฐ์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1200 ประทัดลูกหนูคือประทัดที่ทำจากกระบอกกระดาษปลายเปิด แต่แทนที่จะระเบิดลอยขึ้นฟ้า ก็จะแล่นปรู๊ด ๆ ไปรอบ ๆ พื้นดิน มีการประยุกต์ใช้ประทัดลูกหนูในกิจกรรมทางทหารของจีนด้วย เพราะนอกจากจะทำให้ทหารตกอกตกใจได้แล้วยังมีพิษสงทำให้ม้าพยศด้วย คนทำอาวุธมีความคิดตีดครีบบนตัวประทัดลูกหนูเพื่อช่วยพยุงตัวตอนมันลอยในอากาศ ว่ากันว่าแนวคิดนี้เป็นต้นกำเนิดของการสร้างจรวด
การจุดปะทัดเริ่มแพร่หลายไปทั่วเอเชียและตะวันออกกลางอย่างช้า ๆ ตอนนั้นคนแถบนี้เริ่มใช้ดินปืนเป็นวัตถุในการทำปืนใหญ่และปืนไรเฟิลอย่างง่าย ๆ แม้ที่ผลิตได้จะยิงได้ไม่แม่นยำประสิทธิภาพไม่สูงเหมือนอาวุธในยุคปัจจุบัน แต่ก็ยังดีกว่าจะมีแค่ธนู ลูกศร หรือหนังสติ๊กเป็นอาวุธเท่านั้น
สู่ยุโรป
ในราวปี ค.ศ. 1200 มาร์โค โปโล นักเดินทางชาวยุโรปกลับจากการตระเวนดินแดนเอเชียตะวันออกและนำเอาเคล็ดลับการทำดินปืนติดมือมาด้วย ขณะที่ผู้รู้ชาวอังกฤษคนหนึ่งชื่อโรเจอร์ เบคอน เป็นชาวยุโรปคนแรกที่ศึกษาและเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับดินปืน ภาพเขียนแสดงสงครามวอเตอร์ลูเมื่อปี ค.ศ. 1815
โรเจอร์ เบคอน รู้ว่าดินประสิวที่ทำให้ประทัดมีเสียงดังและยังพบวิธีทำดินปืนที่ทรงพลัง แต่เขาตระหนักดีว่ามีโอกาสสูงเหลือเกินที่สสารชนิดนี้จะถูกนำมาใช้สร้างอาวุธประหัตประหารกัน จึงเขียนวิธีทำดินปืนไว้เป็นรหัสซึ่งไม่มีใครสามารถถอดรหัสนี้ได้อยู่นานนับร้อย ๆ ปี ต่อมา นักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรปคนอื่น ๆ เริ่มค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับดินปืน มีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมเพื่อเพิ่มแรงระเบิดให้มากขึ้นไปอีก
ในการผลิตดินปืนในช่วงปี ค.ศ. 1550 มีการใช้ดินประสิวเป็นส่วนผสมมากถึง 75 เปอร์เซนต์ของส่วนผสมทั้งหมด ขณะที่มีถ่าน 15 เปอร์เซนต์ และกำมะถัน 10 เปอร์เซ็นต์ นี่คือส่วนผสมของสารเคมีเพื่อทำดอกไม้ไฟที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและยังใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน
สารเคมีตามสูตรนี้เมื่อนำมาบดเป็นผง ก็จะใช้ทำวัตถุระเบิดที่ทรงพลังกว่าสูตรของโรเจอร์ เบคอน และส่วนผสมนี้ยังสามารถนำไปเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงในการยิงลูกกระสุนปืนใหญ่ได้ ตอนนั้นอาณาจักรยุโรปแทบทุกแห่งจะมีกองทหารปืนใหญ่ของตัวเองเพื่อแข่งขันช่วงชิงอำนาจให้เหนือกว่าข้าศึก ยามใดที่รบชนะก็จะฉลองด้วยการยิงปืนใหญ่และจรวดขึ้นสู่ท้องฟ้า
Summary
- พลุมีส่วนประกอบสำคัญคือ ดินปืน ถูกพบที่จีนเมื่อราว 2,000 ปีก่อน จากจุดเริ่มต้นการใช้เป็นยา บรรจุใส่กระบอกไผ่จุดไล่ผีปิศาจ พัฒนาสู่อาวุธสงครามขับไล่มองโกล กลายเป็นปืนใหญ่ ระเบิด และจรวด
- พลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ คือระเบิดประเภทหนึ่ง การผลิตในระดับอุตสาหกรรมจึงเท่ากับการเอาวัตถุระเบิดไปกองรวมกันจำนวนมาก และอุตสาหกรรมที่เป็นคลังแสงแสนอันตรายก็มีมูลค่าทางธุรกิจสูงมากในหนึ่งปี
- นอกจากพลุและประทัดจะเป็นวัตถุอันตรายถึงตาย การจุดในช่วงเทศกาลยังก่อให้เกิดมลพิษมหาศาล และเสี่ยงเกิดอัคคีภัย โดยช่วงตรุษจีน 2024 ที่จะถึง ทางการจีนแสดงความกังวล และเตรียมออกมาตรการห้ามจุดพลุช่วงเทศกาลตรุษจีน
P.S. FYI – For Your Information
เผยแพร่ : ณาดาร์ หมื่นชล
(เจ้าหน้าที่พัฒนาและบริหารจัดการสารสนเทศ)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)
Social Media
Facebook : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
Tiktok : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society
แหล่งที่มา