ไข่ผำ พืชจิ๋วพลังยักษ์แหล่งโปรตีนทดแทนชั้นดี
ไข่ผำ (Wolffia)
Superfood ของแหล่งโปรตีนทดแทน และเป็น 1 ในพืชน้ำ อาหารแห่งอนาคต เป็นอีกหนึ่ง Mega Trend ที่มาแรงและถูกกล่าวถึงเป็นวงกว้าง ภาคอุตสาหกรรมอาหารต่างให้ความสนใจ รวมถึงแนวคิดในการนำเอาไข่ผำมาร่วมทดสอบในเครื่องหมุนเหวี่ยงของทาง European Space Agency (ESA) ทดสอบในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงในอวกาศ เพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชชนิดนี้ของมหาวิทยาลัยมหิดล
ไข่ผำ เป็นพืชน้ำตระกูลแหน ลักษณะรูปร่างเป็นเม็ดสีเขียววงกลมหรือเกือบกลมขนาดเล็กคล้ายไข่ปลา ไม่มีราก กระจายคลุมเหนือผิวน้ำเป็นแพ เป็นพืชดอกขนาดเล็กที่สุดในโลกและขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ มีขึ้นอยู่ตามแหล่งน้ำที่เป็นน้ำนิ่ง เช่น บึง และหนองน้ำธรรมชาติทั่วไป โดยปกติจะมีมากในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่มีน้ำไหลเวียน ก่อนนำไปปรุงทำอาหารต้องล้างให้สะอาดเสมอ ไข่ผำ มักถูกนำไปประกอบอาหารมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น แกง หรือผัด บางที่ก็ใส่เป็นส่วนประกอบของอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติให้มีความหอม มัน อร่อย มากยิ่งขึ้น
นอกจากจะเป็นวัตถุดิบหลักของอาหารแล้ว ยังเป็นตัวช่วยในการเพิ่มรสชาติ ไข่ผำ ยังมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการอย่างมากเลยทีเดียว ไข่ผำมีโปรตีนสูงมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักแห้ง และโปรตีนของมันยังคล้ายกับของถั่วเหลืองอีกต่างหาก และในบางพื้นที่ บางสภาพแวดล้อมทำให้ไข่ผำมีโปรตีนสูงมากกว่าไข่และเนื้อได้ด้วยเช่นกัน และไข่ผำยังเป็นอาหารของสัตว์น้ำและสัตว์ปีกหลายชนิด นอกจากนี้ ไข่ผำยังมีแคลเซียมและเบต้าแคโรทีนสูงมาก คนเหนือและอีสานของประเทศไทยนำมาประกอบเป็นอาหาร ผำมีสารพิษต้านฤทธิ์สารอาหาร ก่อนนำมากินต้องปรุงให้สุกก่อน
องค์ประกอบทางโภชนาการของไข่น้ำพบว่า มีโปรตีน เบต้า – คาโรทีน และคลอโรฟิลล์จากการสังเคราะห์แสง ไข่น้ำมีปริมาณโปรตีนในระดับเดี่ยวกับเมล็ดถั่วชนิดต่าง ๆ เมล็ดธัญพืช มีเส้นใยสูง มีปริมาณกรดอะมิโนที่จำเป็นไม่ต่างกับไข่ไก่ สาหร่ายเกลียวทอง และคลอเรลล่า นอกจากนี้คลอโรฟิลล์ในไข่น้ำสารต้านอนุมูล อิสระ (antioxidant) มากกว่าในสาหร่ายเกลียวทอง ซึ่งใช้รักษาอาการท้องผูก รักษาสภาวะซีดในคนที่เป็น โรคโลหิตจางได้ ประโยชน์ของไข่น้ำสามารนำมาใช้ปรุงอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสาน เช่น แกงอ่อม แกงคั่ว ไข่ตุ๋น ไข่เจียว เป็นต้น รับประทานได้
ไข่ผำมีกรดอะมิโนจำเป็นที่พบมากสุด 3 อันดับแรก คือ ไลซีน ฟีนิลอะลานีน ลิวซีน (ซึ่งช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกันของร่างกายและระบบประสาท) และเมื่อนำไข่ผำ 100 กรัม มาตรวจสอบสอบ พบว่าไข่ผำให้พลังงานต่อร่างกาย 8 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย เส้นใย 0.3 กรัม แคลเซียม 59 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม เหล็ก 6.6 มิลลิกรัม และยังมีวิตามินเอ บีหนึ่ง บีสอง วิตามินซี ไนอะซิน และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายชนิด เช่น ลิวซีน ไลซีน วาลีน ฟีนิลอะลานีน ธีโอนีน ไอโซลิวซีน และมีเบต้าแคโรทีนสูงมาก คลอโรฟิลล์ในผำ เป็นสารสีเขียวที่พบในพืช โครงสร้างมีลักษณะคล้ายฮีมที่อยู่ในฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในเลือด มีรายงานการวิจัยถึงฤทธิ์ เช่น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ รักษาอาการท้องผูก ฤทธิ์ต้านการติดเชื้อ ช่วยปรับสภาพร่างกายให้เป็นด่างในคนที่มีสภาวะเครียด หรือร่างกายมีความเป็นกรดจากอาหาร และช่วยรักษาภาวะซีดในคนที่เป็นโรคโลหิตจาง และเมื่อมีการวิเคราะห์กรดไขมันของไข่ผำแห้ง พบว่ามีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงกว่ากรดไขมันอิ่มตัวประมาณ 2 เท่า และยังพบกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายต้องการอีก 2 ชนิด คือ กรดไขมันโอเมกา 3 และ 6 ในปริมาณที่สูง ไข่ผำ เป็นอาหารแห่งอนาคต เพราะมีต้นทุนการผลิตต่ำ มีโปรตีนสูง 20-40% มีสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ระยะเวลาเพาะเลี้ยงสั้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว และศัตรูพืชน้อย จึงทำให้ไข่ผำมีแนวโน้มเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
Social Media
Facebook : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
Tiktok : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society
แหล่งที่มา