ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร

วันที่เผยแพร่: 
Fri 23 June 2023

      หลายคนอาจรู้สึกว่าการซ้อมหนีไฟในแต่ละปีนั้นเป็นเรื่องไกลตัวเสียเหลือเกิน แต่จริงๆแล้วสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่เราคาดคิด ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีผลิตภัณฑ์ป้องกันภัยต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตัดไฟรั่ว เครื่องตรวจจับควัน เครื่องตรวจไฟฟ้าลัดวงจร และอีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้นั่นคือ วิธีการใช้ถังดับเพลิง ที่ควรมีติดบ้านหรืออาคารไว้ เผื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้จะได้สามารถหยิบมาใช้ได้ทันท่วงที

องค์ประกอบของไฟ 
การจะเกิดไฟได้นั้นจะต้องมาจาก 3 องค์ประกอบ นั่นก็คือ เชื้อเพลิง ความร้อน และ ออกซิเจน เมื่อ 3 สิ่งนี้มารวมกันก็จะทำให้เกิดไฟได้ และหลักการในการดับไฟง่ายๆคือ เราจะต้องทำให้ องค์ประกอบเหล่านี้หายได้ อย่างน้อย 1 สิ่ง

ประเภทของไฟ 
 ไฟประเภท A (Ordinary Combustibles) สำหรับไฟประเภทนี้จะเป็นการเกิดเพลิงไหม้ โดยมีเชื้อเพลิงที่ติดไฟได้ง่ายส่วนใหญ่จะเป็น ใบไม้แห้ง กระดาษ ผ้า พลาสติก ขยะแห้ง เป็นต้น

ไฟประเภท B (Flammable Liquids) ส่วนไฟประเภท B ก็จะมีเชื้อเพลิงเป็นพวก น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล สี แอลกอฮอล์ ทินเนอร์ และสารจำพวกก๊าซหุงต้ม และวัตถุไวไฟเป็นต้น ซึ่งเชื้อเพลิงประเภทนี้จะติดไฟได้ง่ายมาก

ไฟประเภท C (Electrical Equipment) และในเเบบ C เป็นไฟที่เราพบกันหน้าข่าวได้บ่อยๆ คือ “ไฟฟ้าลัดวงจร” เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟไหลผ่านจนเกิดความร้อนสูง และเกิดเป็นไฟนั่นเอง

ไฟประเภท D (Combustible Metals) ส่วนไฟประเภทนี้ก็มีที่มาจากบรรดาโลหะที่ติดไฟได้ง่าย อย่างเช่น อะลูมิเนียม ไทเทเนียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม เป็นต้น

ไฟประเภท K (Combustible Cooking) และแบบสุดท้ายก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ในครัวเรือนจากการประกอบอาหารนั่นเอง โดยมีเชื้อเพลิงเป็น น้ำมันพืช น้ำมันหมู และไขมันที่ใช้ในการประกอบอาหารเป็นต้น

ประเภทของถังดับเพลิง
1.ชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K ราคาถูก หาซื้อง่าย แต่มีข้อเสียคือเมื่อฉีดออกมาจะฟุ้งกระจาย และเมื่อเราทำการฉีดแล้ว จะฉีดจนหมดหรือไม่หมดถัง แรงดันจะตก ไม่สามารถใช้งานได้อีกต้องส่งอัดบรรจุใหม่ทันที

2.ชนิดน้ำยาเหลวระเหย สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K ราคาถูกกว่าฮาโรตรอน หาซื้อง่ายเมื่อฉีดใช้งานจะไม่ทิ้งคราบสกปรก ไม่ทำลายอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย และไม่ทำให้สกปรกในบริเวณ ที่ใช้งาน ถังสีเขียวเหมาะกับ พื้นที่ที่เน้นความสะอาด เช่นอาคาร สำนักงาน โรงพยาบาล ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น *สำหรับใช้ดับไฟภายใน*

3.ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สารเคมีภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซที่ฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นจัด คล้ายน้ำแข็งแห้ง ลดความร้อนของไฟได้ ไม่ทิ้งคราบสกปรก สามารถดับไฟได้ประเภท B C เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องเครื่องจักร Line การผลิต อุตสาหกรรมอาหาร ถังสีแดง ปลายกระบอกฉีดจะใหญ่เป็นพิเศษ

4.ชนิดโฟม สารเคมีภายในบรรจุโฟม เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฟองโฟมคลุมผิวเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ จึงสามารถดับไฟได้ประเภท A B แต่ไม่สามารถนำไปดับไฟประเภท C ได้เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า เหมาะสำหรับภาคอุตสาหกรรม ดับเชื้อเพลิงประเภททินเนอร์และสารระเหยติดไฟ ถังแสตนเลส

 

5.ชนิดสูตรเคมีน้ำ เป็นสารทดแทนสารฮาล่อน 1211 ได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Non-CFC) ดับไฟClass A B C และ K ได้ ผ่านการทดสอบและรับรองประสิทธิภาพในการดับเพลิง Fire Rating 10A20B สำหรับขนาด 10ปอนด์ และ 10A40B สำหรับขนาด 15ปอนด์ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (TISTR) ไม่บดบังทัศนวิสัยขณะฉีดใช้งาน เนื่องจากไม่เป็นฝุ่นละออง ปลอดภัยสำหรับฉีเใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

แหล่งที่มา
https://santofire.co.th/types-and-colors-of-fire-extinquishers/
https://salehere.co.th/articles/how-to-use-a-fire-extinguisher

เผยแพร่ : ว่าที่ร้อยตรีณภัทร โพธิ์อยู่
(เจ้าหน้าที่พัฒนาเว็บไซต์และประสานงานโครงการ)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)

Social Media
Facebook : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society 
Tiktok : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
instagram : stkcsociety

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3
Hits 561 ครั้ง